มาตรา ๔๖ ลักษณะและข้อบังคับของสำนวนความ แปลเอกสาร
จัดหาล่าม
บรรดากระบวนพิจารณาเกี่ยวด้วยการพิจารณาและการชี้ขาดตัดสินคดีแพ่งทั้งหลายซึ่งศาลเป็นผู้ทำนั้น
ให้ทำเป็นภาษาไทย
บรรดาคำคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด
ๆ ที่คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทำขึ้นซึ่งประกอบเป็นสำนวนของคดีนั้น
ให้เขียนเป็นหนังสือไทยและเขียนด้วยหมึกหรือดีดพิมพ์หรือตีพิมพ์ ถ้ามีผิดตกที่ใดห้ามมิให้ขูดลบออกแต่ให้ขีดฆ่าเสียแล้วเขียนลงใหม่และผู้เขียนต้องลงชื่อไว้ที่ริมกระดาษ
ถ้ามีข้อความตกเติมให้ผู้ตกเติมลงลายมือชื่อหรือลงชื่อย่อไว้เป็นสำคัญ
การจัดทำคำแปลเอกสารภาษาต่างประเทศ
ถ้าต้นฉบับเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด
ๆ ที่ส่งต่อศาลได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ
ให้ศาลสั่งคู่ความฝ่ายที่ส่งให้ทำคำแปลทั้งฉบับหรือเฉพาะแต่ส่วนสำคัญโดยมีคำรับรองมายื่นเพื่อแนบไว้กับต้นฉบับ
การจัดหาล่าม
ถ้าคู่ความฝ่ายใดหรือบุคคลใดที่มาศาลไม่เข้าใจภาษาไทยหรือเป็นใบ้หรือหูหนวกและอ่านเขียนหนังสือไม่ได้
ให้ให้คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องจัดหาล่าม
ข้อสังเกต หลักกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกา