สุทัศน์ สงวนปรางค์ มนต์ชัย ชนินทรลีลา สมนึก ลิ้มเทียมเจริญ
นอกจากวิธีพิจารณาความแพ่งโดยสังเขป
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีผลใช้บังคับในวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ เหตุผลในการประกาศใช้ คือ โดยที่ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
มีการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ขาดความรู้เรื่องในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการ
ตลอดจนเทคนิคการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งยังขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ
ทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ นอกจากนี้
เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นกระบวนการในการเรียกร้องค่า เสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้บริโภคที่จะต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่าง
ๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตนเอง อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบจนบางครั้งนำไปสู่การใช้วิธีการที่รุนแรงและก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
(เช่น กรณีทุบรถประจาน) อันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีแพ่งที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวดเร็ว
ประหยัด และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งข้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราช บัญญัตินี้
“คดีผู้บริโภค”
หมายความว่า (๑) คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา ๑๙ กับ ผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
(๒) คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(ตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.
๒๕๕๑) (๓) คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกันกับคดีตาม
(๑) หรือ (๒) และ (๔) คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
(มาตรา ๓) ซึ่งเป็น “คดีแพ่ง” ที่อยู่ในอำนาจของศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั่วไป
ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลจังหวัด และศาลแขวง แต่ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ
ตามวิธีพิจารณาที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องบังคับวิธีพิจารณาของศาลชำนัญพิเศษนั้น
เช่น คดีเกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศ ก็ต้องบังคับตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์
สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นต้น
สำหรับตัวอย่างคดีผู้บริโภค เช่น
คดีที่ผู้บริโภคฟ้องผู้ประกอบธุรกิจให้รับผิดตามสัญญาซื้อขายอสังหาริม ทรัพย์ (ส่วนใหญ่เป็นกรณีไม่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
ไม่โอนกรรมสิทธิ์ ไม่จัดทำสาธารณูปโภค ฟ้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่อง)
ฟ้องผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานเสริมความงามในเรื่องละเมิดที่เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณสุข
ฟ้องผู้รับประกันภัยเกี่ยวกับสัญญาประกันวินาศภัย ประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ คดีที่ผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ฟ้องบังคับลูกค้าให้ชำ
ระหนี้ตามสัญญายืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ บัญชีเดินสะพัด ตั๋วเงิน ทรัสต์รีซีท ผู้ประกอบธุรกิจโทร
คมนาคมหรือสาธารณูปโภคฟ้องบังคับลูกค้าหรือลูกหนี้ให้ชำระหนี้ตามสัญญาให้บริการหรือสัญญาให้
บริการสาธารณูปโภค (เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์บอกรับสมาชิก ไฟฟ้า ประปา)
คดีที่ผู้ประ กอบธุรกิจให้เช่าซื้อสินค้า บัตรเครดิต หรือให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล
หรือกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึก ษา ฟ้องบังคับลูกค้าให้ชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาบัตรเครดิต สัญญาให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล หรือสัญญากู้ยืมเงิน คดีที่นิติบุคคลอาคารชุดหรือนิติบุคคลบ้านจัดสรรฟ้องบังคับเจ้าของอาคารชุดหรือบ้านจัดสรรให้รับผิดในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง
คดีแพ่งเรื่องใดจะเป็นคดีผู้บริโภคหรือคดีแพ่งทั่วไปย่อมมีความสำคัญ
เพราะคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๕๑ มีบท บัญญัติให้คดีผู้บริโภคมีความยืดหยุ่นและแตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไปหลายประการ
เนื่องจากคู่ความทั้งสองฝ่ายอยู่ในฐานะที่ไม่เท่าเทียมกัน ฉะนั้น
หากเกิดกรณีที่มีปัญหาโต้แย้งว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ภายในวันนัดพิจารณาหรือในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน
คู่ความอาจขอหรือศาลอาจเห็น สมควรให้ส่งเอกสารที่จำเป็น (อย่างน้อยต้องมีคำฟ้อง คำให้การ
รายงานกระบวนพิจารณา ซึ่งศาลชั้น ต้นควรสอบถามจดรายงานข้อเท็จจริงที่สำคัญเพิ่มเติมไว้ด้วย
เช่น คู่ความมีการให้ค่าตอบแทนแก่กันหรือไม่ การซื้อสินค้าพิพาทเป็นการซื้อไปเพื่อบริโภคหรือขายต่อ
เป็นต้น) ไปยังศาลอุทธรณ์ทางโทร สารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (appealc@judiciary.go.th)
หรือเจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นที่ได้รับมอบหมายนำส่งโดยตรง
(หากดำเนินการได้รวดเร็วกว่า) เพื่อขอให้ “ประธานศาลอุทธรณ์” (กลาง) เป็นผู้วินิจฉัยและแจ้งผลไปยังศาลชั้นต้นโดยเร็ว
โดยคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด แต่ทั้งนี้ไม่กระทบถึงกระบวนพิจารณาใด
ๆ (ระหว่างรอคำวินิจฉัยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป) ที่ได้กระทำไปก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยนั้น
(มาตรา ๘)
กระบวนพิจารณาคดีผู้บริโภค
ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๕๑ และข้อ กำหนดของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๕๑ แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม สำหรับกระบวนพิจารณาคดีผู้
บริโภคที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อาทิ ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความทำการแก้ไขข้อผิดระเบียบหรือผิดหลงในการดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้อง
ภายในระยะ เวลาและเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เว้นแต่ข้อผิดระเบียบหรือผิดหลงดังกล่าวเกิดจากความไม่สุจริตของคู่ความฝ่ายนั้น
(มาตรา ๙)
บทบัญญัติกฎหมายที่บังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด
มิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้ รวมทั้งหากผู้บริโภคได้วางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว
ให้ผู้บริโภคมีอำนาจฟ้องบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาให้เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดหรือชำระหนี้เป็นการตอบแทนได้
โดยมิให้นำมาตรา ๙๔ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
(ซึ่งห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร หรือเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร)
มาใช้แก่ผู้บริโภคและการพิสูจน์ถึงนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ
(มาตรา ๑๐)
ผู้บริโภคสามารถนำสืบพยานบุคคลเกี่ยวกับข้อความหรือข้อตกลงตามประกาศ
โฆษณา คำรับ รอง หรือการกระทำด้วยประการใด ๆ
ของผู้ประกอบธุรกิจซึ่งตกลงจะมอบให้หรือจัดหาให้ซึ่งสิ่งของ บริการ หรือสาธารณูปโภค
หรือที่จะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริโภคเพิ่มเติมขึ้นจากที่ได้ทำสัญญาไว้ได้ (มาตรา
๑๑)
ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต
ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย โดยผลของสารที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้บริโภค หรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ
ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคต้องใช้สิทธิเรียกร้องใน ๓ ปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิด
แต่ไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย (มาตรา ๑๓)
ถ้ามีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พึงจ่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภค
ให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างนั้นจนกว่าจะได้บอกเลิกการเจรจา (มาตรา
๑๔)
เมื่อศาลเห็นสมควรหรือคู่ความร้องขอ
ศาลมีอำนาจย่นหรือขยายระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
(มาตรา ๑๕)
ทั้งนี้
เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีผู้บริโภคมีลักษณะที่ไม่เคร่งครัดต่อระเบียบพิธีการดังเช่นคดีแพ่งทั่วไป และเพื่อมิให้เอาชนะกันโดยอาศัยเทคนิคทางกฎหมาย ตามหลักไม่เป็นทางการในการดำเนินกระบวนพิจารณา
การฟ้องคดีผู้บริโภค
การยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ คู่ความอาจกระทำด้วยวาจาผ่าน
“เจ้าพนักงานคดี” ก็ได้ ให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการเพื่อให้มีการจดบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้อง
แล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อ ทั้งนี้
ให้โจทก์เสนอพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่ทำได้มาพร้อมกับคำฟ้อง
สำหรับการฟ้องเป็นหนังสือ
ให้เจ้าพนักงานคดีช่วยเหลือในการจัดทำคำฟ้องตามสมควรแก่กรณี
รวมทั้งให้ตรวจสอบสถานการณ์เป็นนิติบุคคลหรือภูมิลำเนาของคู่ความ โดยให้ระบุสถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวกและหมายเลขโทรศัพท์ของคู่ความไว้ด้วย
แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดรูปคดีทำนองเดียวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ
(ตั้งสำนวนปกสีฟ้า ขนาดเท่ากระดาษ A4)
ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ
หากคำฟ้องไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญในบางเรื่อง
เจ้าพนักงานคดีอาจให้คำแนะนำโจทก์เพื่อจัดทำคำฟ้องให้ถูกต้องครบถ้วน และศาลก็อาจสั่งให้แก้ไขคำฟ้องให้ถูกต้องหรือชัดเจนขึ้นก็ได้
(มาตรา ๑๙ – ๒๑ , ๒๖ ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๖ - ๘)
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจจะฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภค
และผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลอื่นได้ด้วย
(เช่น ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือศาลที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล)
ให้ผู้ประกอบธุรกิจเสนอคำฟ้องต่อศาลที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้เพียงแห่งเดียว
(มาตรา ๑๗)
ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค
สามารถฟ้องคดีโดยได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง (รวมทั้งค่านำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
ซึ่งเจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายจะไปเบิกเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการแทน) แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด
ทั้งนี้ ถ้าผู้บริโภค ฯ นำคดีมาฟ้องโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เรียกร้องค่าเสียหายเกินสมควร
ประพฤติตนไม่เรียบร้อย ดำเนินกระบวนพิจารณาอันมีลักษณะเป็นการประวิงคดีหรือที่ไม่จำเป็น
ศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนภายในเวลาที่กำหนดก็ได้
หากไม่ปฏิบัติตามให้ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ (มาตรา ๑๘)
การนัดพิจารณา
เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำฟ้องแล้ว ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว
แต่ต้องไม่เกิน ๓๐ วัน แล้วออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาลตามกำหนดนัดเพื่อการไกล่เกลี่ย
ให้การ และสืบพยานในวันเดียว กัน และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
ศาลอาจสั่งให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือทางเจ้าพนักงานศาลโดยสั่งให้ปิดหมาย
ฯ และย่นระยะเวลาให้มีผลใช้ได้ทันทีหรือภายในเวลาที่กำหนด (ก่อนครบ ๑๕ วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๗๙) ก็ได้ ทั้งนี้ ให้ส่งคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติและผลแห่งการที่ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาให้จำเลยทราบด้วย
(มาตรา ๒๔, ข้อ กำหนด ฯ ข้อ ๙ - ๑๑)
กรณีคู่ความไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา
ในวันนัดพิจารณา ถ้าโจทก์ไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี (ไม่ว่าจำเลยจะมาศาลหรือไม่) ให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป
ให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ เว้นแต่ตามพฤติการณ์ศาลเห็นสมควรให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวโดยให้ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
หากจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา
และถ้าไม่ได้ยื่นคำให้การ ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงถามค้านพยานโจทก์ที่ยังสืบไม่บริบูรณ์ในขณะที่ตนมาศาล
แต่จะนำเสนอพยานหลักฐานของตนไม่ได้
หากจำเลยยื่นคำให้การแล้ว แต่ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา
ให้ถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา
และให้ศาลพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว โดยห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบหากจำเลยมาศาลเมื่อเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบแล้ว
และห้ามไม่ให้ศาลยอมให้จำเลยคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่สืบไปแล้วด้วยการถามค้น คัดค้านการระบุเอกสารของโจทก์
คัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือให้ตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาล แต่หากโจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่บริ
บูรณ์ ให้ศาลอนุญาตให้จำเลยหักล้างได้แต่เฉพาะพยานหลักฐานที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาล
(มาตรา ๒๗, ข้อกำหนด ฯ ข้อ ๑๓)
แต่ถ้าคู่ความไม่มาศาลในวันนัดอื่นที่มิใช่วันนัดพิจารณาให้ถือว่าสละสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาของตน
และทราบกระบวนพิจารณาในนัดนั้นด้วยแล้ว (มาตรา ๒๘)
การดำเนินกระบวนพิจารณาในวันนัดพิจารณา
ในวันนัดพิจารณาเมื่อคู่ความมาพร้อมกัน
ให้เจ้าพนักงานคดี ผู้ประนีประนอมประจำศาล หรือบุคคลที่คู่ความตกลงกัน
ทำการไกล่เกลี่ยช่วยเหลือให้คู่ความได้เจรจาบรรลุถึงข้อตกลงร่วมกัน
หากคู่ความยังไม่สามารถตกลงกันได้
โดยเห็นควรเลื่อนการนัดพิจารณา ก็ให้ทำรายงานเสนอต่อศาลเพื่อขออนุญาตเลื่อนการนัดพิจารณาได้ไม่เกิน
๓ ครั้ง ครั้งละไม่เกิน ๗ วัน และหากคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยื่นคำให้การหรือบัญชีระบุพยาน
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีช่วยเหลือคู่ความฝ่ายนั้นในการจัดทำคำให้การหรือบัญชีระบุพยานให้เรียบร้อย
ทั้งนี้ จำเลยจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือด้วยตนเองในวันนัดพิจารณาหรือก่อนวันนัดพิจารณาก็ได้
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและสืบพยาน
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีสอบถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากคู่ความ แล้วจัดทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงและประเด็นข้อพิพาทเสนอต่อศาลโดยเร็ว
(มาตรา ๒๕ , ข้อกำหนด ฯ ข้อ ๑๔ – ๑๘ ตั้งสำนวนของเจ้าพนักงานคดีโดยใช้ปกสีชม
พู)
ผู้ประกอบธุรกิจมี “ภาระการพิสูจน์” ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิต การประกอบ การออกแบบ ส่วนผสม การให้บริการ
ที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของฝ่ายผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรา ๒๙)
การสืบพยานหลักฐาน
ก่อนสืบพยานให้ศาลแจ้งประเด็นข้อพิพาท
ภาระการพิสูจน์ในแต่ละประเด็น และลำดับก่อน หลังให้คู่ความทราบ (มาตรา ๓๒)
ศาลมีอำนาจเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เอง
โดยอาจสั่งให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นแห่งคดี
ตรวจสอบกระบวนการผลิต ตรวจพิสูจน์สินค้าหรือความเสียหายอันเกิดจากการบริโภค รายละเอียด
ฯ เกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งประสานงานหรือเรียก ส.ค.บ. หน่วยงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลหรือส่งพยานหลักฐาน
เพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาได้ (มาตรา ๓๓ , ข้อกำหนด ฯ ข้อ ๒๐ - ๒๑)
ศาลอาจให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อความที่บันทึกภาพหรือเสียงการเบิกความ
จัดทำสำเนาเป็นลายลักษณ์อักษร ให้เจ้าพนักงานคดีช่วยตรวจสอบและดูแลให้คู่ความดำเนินคดีไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
หากพบข้อบกพร่องก็ให้รายงานศาลพร้อมด้วยแนวทาง แก้ไขโดยเร็ว ,
ในการสืบพยาน ให้ศาลเป็นผู้ซักถามพยาน
(โดยอาจใช้ข้อมูลจากรายงานของเจ้าพนักงานคดีเป็นแนวทางในการซักถามพยาน) และคู่ความหรือทนายจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล
ให้ศาลนั่งพิจารณาคดีสืบพยานติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้
ศาลจะมีคำสั่งเลื่อนได้ครั้งละไม่เกิน ๑๕ วัน (มาตรา ๓๔, ๓๕ , ข้อกำหนด ฯ ข้อ ๒๒ -
๒๔)
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
การสั่งวิธีการชั่วคราวก่อนยื่นฟ้องคดี ศาลอาจให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบข้อเท็จจริงและทำความเห็นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวที่เหมาะสม โดยนอกจากวิธีการชั่วคราวตามที่บัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
ศาลอาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการหรือห้ามกระทำการ เพื่อบรรเทาความเสียหาย ป้องกันเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่คู่ความหรือผู้บริโภคเป็นส่วนรวม
(ไม่ใช่เฉพาะแต่คู่ความเท่านั้น) เช่น ประกาศให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลโดยถูกต้องครบถ้วน
ให้จำหน่ายสินค้าหรือบริการภายใต้เงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควร ทั้งนี้
ให้ศาลสั่งเท่าที่จำเป็นและไม่เกินสมควรแก่กรณี โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยรวม
(มาตรา ๕๖ - ๖๓, ข้อกำหนด ฯ ข้อ ๒๕ - ๒๗)
คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบข้อเท็จจริงและทำความเห็นเพื่อประโยชน์ในการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
โดยต้องให้คู่ความทุกฝ่ายทราบ และไม่ตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะโต้แย้งคัดค้าน
(ข้อกำหนด ฯ ข้อ ๒๘)
ศาลอาจกล่าวในคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า
สงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษา ฯ ในกรณีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ
หรืออนามัย ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ไม่เกิน ๑๐ ปี (มาตรา ๔๐)
ในกรณีที่ความชำรุดบกพร่องมีอยู่ในขณะส่งมอบสินค้า
และไม่อาจแก้ไขให้กลับคืนสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ หรือถึงแม้จะแก้ไขแล้วแต่หากนำไปใช้แล้วอาจเกิดอันตรายแก่ร่างกาย
สุขภาพ หรืออนามัยของผู้บริโภค ศาลมีอำนาจพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้าใหม่ให้ผู้บริโภค
แทนการแก้ไขซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้นก็ได้ (มาตรา ๔๑)
ถ้าผู้ประกอบธุรกิจเจตนาเอาเปรียบโดยไม่เป็นธรรม
จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำการฝ่าฝืนต่อฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน
ศาลมีอำนาจพิพากษาสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่เกิน
๒ เท่าจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริง หรือ ๕ เท่า ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงไม่เกิน
๕๐,๐๐๐ บาท (มาตรา ๔๒)
หากยังมีสินค้าที่ได้จำหน่ายแล้ว หรือที่เหลืออยู่ในท้องตลาดอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจประกาศรับสินค้าซึ่งอาจเป็นอันตรายจากผู้บริโภค
เพื่อแก้ไขหรือเปลี่ยนให้ใหม่หรือให้ใช้ราคาตามสมควร ห้ามผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่เหลืออยู่และให้เรียกเก็บสินค้ากลับคืนหรืออาจสั่งห้ามผลิตหรือนำเข้าสินค้านั้นก็ได้
และหากจะเก็บสินค้าที่เหลือไว้เพื่อจำหน่ายต่อไป ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ทำลายสินค้าที่เหลือนั้น
ถ้าไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้มีอำนาจทำการแทนได้
(มาตรา ๔๓)
เมื่อคู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจพิพากษาให้หุ้นส่วน
ผู้ถือหุ้น หรือบุคคลที่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคล หรือผู้รับมอบทรัพย์สินจากนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบธุร
กิจ ร่วมรับผิดชอบในหนี้ที่นิติบุคคลมีต่อผู้บริโภคได้ด้วย (เว้นแต่
จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำดังกล่าว หรือตนได้รับทรัพย์สินมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน)
แต่ทั้งนี้ ให้ผู้รับมอบทรัพย์ สินจากนิติบุคคลร่วมรับผิดไม่เกินทรัพย์สินที่ได้รับจากนิติบุคคลนั้น
(มาตรา ๔๔)
การอุทธรณ์และฎีกา
ให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีผู้บริโภคไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค
ภายในกำหนด ๑ เดือน แต่ห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีผู้บริโภคที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน
๕๐,๐๐๐ บาท อนึ่ง ในกรณีที่เห็นว่าเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
ฯ ไปพร้อมกับอุทธรณ์ก็ได้ หรือในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ ก็อาจยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์
ฯ ภายในกำหนด ๑๕ วันก็ได้ (แต่จะอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ไม่ได้) ทั้งนี้ ศาลอุทธรณ์
ฯ ต้องพิจารณาพิพากษาคดีผู้บริโภคให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว โดยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์
ฯ ให้เป็นที่สุด (มาตรา ๔๖ – ๕๐)
คู่ความอาจยื่นฎีกาไปพร้อมกับคำร้องต่อศาลฎีกา
เพื่อขอให้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีทุนทรัพย์เกิน ๒๐๐,๐๐๐
บาท หรือในปัญหาข้อกฎหมาย ภายในกำหนด ๑ เดือน
โดยศาลฎีกาจะพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาได้เมื่อเห็นว่าเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะหรือเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย
(มาตรา ๕๑ - ๕๕)
ในท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนหวังว่าบทความ “วิธีพิจารณาความแพ่งและวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคโดยสังเขป” ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเสนอคดีแพ่ง เขตอำนาจศาล การส่งคำคู่ความ การขอคุ้มครองชั่วคราว การยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาล
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การถอนฟ้อง
การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย การเพิกถอนหรือแก้ไขการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ร้องสอด คดีมโนสาเร่และคดีไม่มีข้อยุ่งยาก การขาดนัดยื่นคำให้การ
การชี้สองสถาน การขาดนัดพิจารณา การสืบพยาน การพิพากษาคดี การฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
การอุทธรณ์ การทุเลาการบังคับคดี การฎีกา การบังคับคดี และการเพิกถอนการบังคับคดี รวมทั้งลักษณะพิเศษของวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ได้นำเสนอมาโดยสังเขปนี้
คงจะเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งให้แก่ประชาชน
การทบทวนศึกษากฎหมาย และการอำนวยความยุติธรรมทางแพ่งแก่ผู้มีภาระหน้าที่เกี่ยวข้องสืบต่อไปบ้างตามสมควร
ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา
ว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณา
และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค
พ.ศ.
๒๕๕๑
______________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา
๖ มาตรา ๑๖ มาตรา ๒๕ มาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๖๓
แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาออกข้อกำหนดไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อกำหนดนี้เรียกว่า “ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระ บวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๕๑”
ข้อ ๒ ข้อกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคพ.ศ.
๒๕๕๑ มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อกำหนดนี้
“ศาลอุทธรณ์” หมายความว่า ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔ ให้สำนักงานศาลยุติธรรมออกประกาศกำหนดแบบพิมพ์ที่จำเป็นแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีผู้บริโภค
ข้อ ๕ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามข้อกำหนดนี้
หมวด ๑
การฟ้องคดี
ข้อ ๖ ในกรณีที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือ
หากคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระ สำคัญในเรื่องใด เจ้าพนักงานคดีอาจให้คำแนะนำแก่โจทก์เพื่อจัดทำคำฟ้องให้ถูกต้องครบถ้วน
ในกรณีที่โจทก์ประสงค์จะฟ้องด้วยวาจา
ให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการเพื่อให้มีการจดบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องลงในแบบพิมพ์คำฟ้องแล้วให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี ให้โจทก์เสนอพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเท่าที่จะทำได้มาพร้อมกับคำฟ้อง
ข้อ ๗ การให้คำแนะนำและการให้ความช่วยเหลือตามข้อ
๖ ให้เจ้าพนักงานคดีพิจารณาช่วยเหลือตามสมควรแก่กรณี และให้รวมถึงการตรวจสอบสถานะการเป็นนิติบุคคลหรือภูมิลำเนาของคู่ความเพื่อประโยชน์ในการจัดทำคำฟ้อง
แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดรูปคดีทำนองเดียวกับการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ
ข้อ ๘ ในคำฟ้อง
นอกจากภูมิลำเนาของคู่ความแล้ว ให้ระบุสถานที่ที่สามารถติดต่อได้โดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์ของคู่ความเท่าที่ทราบไว้ด้วย
หมวด ๒
การนัดพิจารณา
ข้อ ๙ ให้ศาลกำหนดวันนัดพิจารณาโดยเร็ว
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำฟ้อง
ข้อ ๑๐ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลย
ศาลอาจมีคำสั่งให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือโดยทางเจ้าพนักงานศาลก็ได้ ในกรณีที่ส่งโดยทางเจ้าพนัก
งานศาล ศาลจะมีคำสั่งให้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ทั้งนี้ ศาลอาจย่นหรือขยายระยะเวลาให้มีผลใช้ได้ก่อนหรือหลังครบกำหนดสิบห้าวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๗๙ ด้วยก็ได้
ในกรณีที่ส่งไม่ได้และต้องมีการส่งใหม่
ศาลอาจมีคำสั่งให้เลื่อนวันนัดพิจารณาออก ไปได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว
ข้อ ๑๑ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องนั้น
ให้ส่งคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติและผลแห่งการที่ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาให้จำเลยทราบด้วย
ตามแบบที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด
ข้อ ๑๒ การส่งคำคู่ความหรือเอกสารอย่างอื่นที่มิใช่หมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
หรือการแจ้งวันนัด คำสั่งศาล หรือข้อความอย่างอื่นไปยังคู่ความหรือบุคคลอื่นใด ให้ดำเนินการ
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เว้นแต่กรณีจำเป็นเร่งด่วนและเป็นการแจ้งไปเพื่อทราบจะ แจ้งข้อความทางโทรศัพท์ก็ได้โดยเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการต้องบันทึกเรื่องที่ได้แจ้ง วันเวลาที่ดำ เนินการ รวมทั้งชื่อผู้รับไว้ให้ปรากฏในรายงานเจ้าหน้าที่
หรือการแจ้งวันนัด คำสั่งศาล หรือข้อความอย่างอื่นไปยังคู่ความหรือบุคคลอื่นใด ให้ดำเนินการ
โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เว้นแต่กรณีจำเป็นเร่งด่วนและเป็นการแจ้งไปเพื่อทราบจะ แจ้งข้อความทางโทรศัพท์ก็ได้โดยเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการต้องบันทึกเรื่องที่ได้แจ้ง วันเวลาที่ดำ เนินการ รวมทั้งชื่อผู้รับไว้ให้ปรากฏในรายงานเจ้าหน้าที่
การส่งหรือแจ้งโดยทางโทรสาร
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสาร สนเทศอย่างอื่น หากศาลใดมีความพร้อมก็ให้ดำเนินการได้
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานศาลยุติธรรมว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการส่งคำคู่ความหรือเอกสารทางไปรษณีย์
โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หมวด ๓
การดำเนินคดีในวันนัดพิจารณา
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่คู่ความฝ่ายใดไม่มาศาลในวันนัดพิจารณา
ให้เจ้าหน้าที่ศาลราย งานให้ศาลทราบเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามมาตรา ๒๗
ข้อ ๑๔ ในวันนัดพิจารณาเมื่อคู่ความมาพร้อมกัน
ให้เจ้าพนักงานคดีเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้เจรจาตกลงกัน เว้นแต่ศาลเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้ผู้ประนีประนอมประจำศาลทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยแทนก็ได้
ถ้าคู่ความมีความประสงค์ร่วมกันที่จะให้บุคคลใดเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้แจ้งต่อเจ้าพนัก
งานคดีพร้อมสถานที่ติดต่อและหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้น
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีติดต่อไปยังบุคคลดังกล่าวเพื่อให้มาทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ย
หากไม่สามารถดำเนินการได้หรือบุคคลนั้นไม่ยอมรับเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือการกระทำเช่นนั้นจะทำให้คดีเนิ่นช้าเสียหาย
ให้เจ้าพนัก งานคดีหรือผู้ประนีประนอมประจำศาลดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไป
ข้อ ๑๕ ในการไกล่เกลี่ย ให้ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยพยายามช่วยเหลือให้คู่ความบรรลุถึงข้อตกลงร่วมกัน
และให้นำระเบียบหรือข้อกำหนดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่คู่ความตกลงกันได้
ซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องหรือทำสัญญาประนี ประนอมยอมความกัน
ให้ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยแนะนำและช่วยเหลือคู่ความในการจัดทำคำร้อง คำแถลง หรือสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเป็นแล้วทำรายงานเสนอต่อศาลเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว
แต่ถ้ายังไม่สามารถตกลงกันได้และผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเห็นควรเลื่อนการนัดพิจารณา
ก็ให้ทำรายงานเสนอต่อศาลเพื่อขออนุญาตเลื่อนการนัดพิจารณาออกไป กรณีเช่นว่านี้
ให้ศาลมีอำนาจสั่งเลื่อนการนัดพิจารณาได้ไม่เกินสามครั้งครั้งละไม่เกินเจ็ดวัน เว้นแต่ในกรณีที่มีพฤติ
การณ์พิเศษ ศาลอาจมีคำสั่งเลื่อนการนัดพิจารณาออกไปได้ตามที่เห็นสมควร
โดยต้องระบุพฤติ การณ์พิเศษดังกล่าวไว้
ข้อ ๑๗
หากคู่ความไม่สามารถตกลงกันได้และคู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยื่นคำให้การหรือบัญชีระบุพยาน
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีช่วยเหลือคู่ความในการจัดทำคำให้การหรือบัญชีระบุพยานดังกล่าวให้เรียบร้อยแล้วรีบทำรายงานเสนอต่อศาล
เพื่อออกนั่งพิจารณาในวันนั้นหรือวันนัดพิจารณาอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร
เพื่อออกนั่งพิจารณาในวันนั้นหรือวันนัดพิจารณาอื่นตามที่ศาลเห็นสมควร
การให้ความช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง
ให้นำความในข้อ ๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๘
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและสืบพยาน
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีอื่นที่มิใช่ผู้ไกล่เกลี่ยสอบถามข้อเท็จจริงเบื้องต้นจากคู่ความ
แล้วจัดทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงและประเด็นข้อพิพาทเสนอต่อศาลโดยเร็ว
แล้วจัดทำรายงานสรุปข้อเท็จจริงและประเด็นข้อพิพาทเสนอต่อศาลโดยเร็ว
ข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่งต้องมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการไกล่เกลี่ย
หมวด ๔
การสืบพยานหลักฐาน
ข้อ ๑๙ ก่อนการสืบพยานให้ศาลแจ้งประเด็นข้อพิพาท
ภาระการพิสูจน์ในแต่ละประเด็นและลำดับก่อนหลังในการนำพยานหลักฐานของคู่ความแต่ละฝ่ายเข้าสืบให้คู่ความทุกฝ่ายทราบ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริง
แห่งคดี ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการเพื่อให้มีการตรวจสอบพยานหลักฐาน
อันเป็นประเด็นแห่งคดี การตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ การตรวจพิสูจน์สินค้าหรือความเสียหายอันเกิดจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ หรือตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน ทุนจดทะเบียน รายได้ รายชื่อหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ หรือเรียกให้หน่วยงานหรือบุคคลใดมาให้ข้อมูลหรือจัดส่งพยานหลักฐาน หรือตรวจสอบข้อเท็จจริงอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดี
แห่งคดี ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการเพื่อให้มีการตรวจสอบพยานหลักฐาน
อันเป็นประเด็นแห่งคดี การตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ การตรวจพิสูจน์สินค้าหรือความเสียหายอันเกิดจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ หรือตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน หนี้สิน ทุนจดทะเบียน รายได้ รายชื่อหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการของผู้ประกอบธุรกิจ หรือเรียกให้หน่วยงานหรือบุคคลใดมาให้ข้อมูลหรือจัดส่งพยานหลักฐาน หรือตรวจสอบข้อเท็จจริงอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดี
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
เจ้าพนักงานคดีอาจประสานงานไปยังหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ตรวจพิสูจน์หรือขอข้อมูลที่จำเป็น หรือมีหนังสือเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาให้ข้อมูลหรือจัดส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการดำเนินการ แล้วจัดทำรายงานเสนอต่อศาล โดยอาจระบุถึงพยานหลักฐานที่ศาลสมควรเรียกมาสืบเพิ่มเติมตามมาตรา ๓๓ หรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยว ชาญที่ศาลสมควรรับฟังความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาตามมาตรา ๓๖
ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ตรวจพิสูจน์หรือขอข้อมูลที่จำเป็น หรือมีหนังสือเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาให้ข้อมูลหรือจัดส่งเอกสารมาเพื่อประกอบการดำเนินการ แล้วจัดทำรายงานเสนอต่อศาล โดยอาจระบุถึงพยานหลักฐานที่ศาลสมควรเรียกมาสืบเพิ่มเติมตามมาตรา ๓๓ หรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยว ชาญที่ศาลสมควรรับฟังความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาตามมาตรา ๓๖
ข้อ ๒๑
พยานหลักฐานหรือความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญตามราย งานของเจ้าพนักงานคดีตามข้อ
๒๐ ให้ศาลแจ้งให้คู่ความทราบก่อนการสืบพยานนั้นตามสมควร
เพื่อให้คู่ความมีโอกาสโต้แย้งพยานหลักฐานดังกล่าวหรือเรียกผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญฝ่ายตนมาให้ความเห็นโต้แย้งหรือเพิ่มเติมได้
ข้อ ๒๒
ศาลอาจใช้ข้อมูลที่ได้จากรายงานของเจ้าพนักงานคดีเป็นแนวทางในการซักถามพยานก็ได้
ข้อ ๒๓
ในกรณีที่มีการบันทึกคำพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ
ซึ่งสามารถถ่ายทอดเป็นภาพหรือเสียงหรือโดยใช้วิธีการอื่นใด
ซึ่งคู่ความและพยานสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของบันทึกการเบิกความนั้นได้
ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๒๑ วรรคสอง
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อความที่บันทึกตลอดจนการจัดทำสำเนาข้อความดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรหรือสิ่งบันทึกอย่างอื่น
ข้อ ๒๔
ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีช่วยตรวจสอบและดูแลให้คู่ความดำเนินคดีไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
หากพบว่ามีข้อบกพร่อง ให้รายงานต่อศาลพร้อมด้วยแนวทางแก้ไขโดยเร็ว
เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งการตามที่เห็นสมควร
หมวด ๕
วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา
ข้อ ๒๕
ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนยื่นฟ้องคดี ศาลอาจมอบ หมายให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยตามมาตรา
๕๗ และทำความเห็นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวที่เหมาะสม
รวมทั้งเงื่อนไขและระยะเวลาของการใช้วิธีการดัง กล่าว
ความเห็นของเจ้าพนักงานคดีตามวรรคหนึ่ง
ศาลมีอำนาจที่จะฟังผู้ที่จะถูกฟ้องเป็นจำเลยถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องก่อนมีคำสั่งในเรื่องนั้นก็ได้
ข้อ ๒๖ ในการใช้วิธีการชั่วคราวตามมาตรา ๖๓
นอกจากมาตรการหรือวิธีการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว
ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำการหรือห้ามกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น
(๑) ให้ประกาศหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการโดยถูกต้องครบถ้วน
(๒)
ห้ามกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจทำให้ผู้บริโภคหลงผิดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(๓)
ให้จำหน่ายสินค้าหรือบริการภายใต้เงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ศาลเห็นสมควร
(๔)
ห้ามหรือให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดทำนองเดียวกับ (๑) (๒) หรือ (๓)
การกำหนดมาตรการหรือวิธีการตามวรรคหนึ่ง
ให้ศาลพิจารณาสั่งเท่าที่จำเป็นและ
ไม่เกินสมควรแก่กรณี โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค
โดยรวมประกอบกัน
ไม่เกินสมควรแก่กรณี โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค
โดยรวมประกอบกัน
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลเกี่ยวกับวิธีการคุ้มครองชั่วคราว
ก่อนพิพากษา การดำเนินการใด ๆ ระหว่างศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลอาจดำเนินการ
ทางโทรสารหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนและความเหมาะสมตามสภาพแห่งเนื้อหาของเรื่อง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่ประธานศาลอุทธรณ์กำหนด
ก่อนพิพากษา การดำเนินการใด ๆ ระหว่างศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลอาจดำเนินการ
ทางโทรสารหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใดก็ได้ โดยคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วนและความเหมาะสมตามสภาพแห่งเนื้อหาของเรื่อง ทั้งนี้ ตามวิธีการที่ประธานศาลอุทธรณ์กำหนด
หมวด
๖
คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี
ข้อ ๒๘
เพื่อประโยชน์ในการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามมาตรา ๓๙ ถึงมาตรา ๔๔
หากศาลเห็นสมควร ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบข้อเท็จจริงและทำความเห็นเพื่อประกอบการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติดังกล่าวก็ได้
ข้อเท็จจริงหรือความเห็นของเจ้าพนักงานคดีตามวรรคหนึ่งต้องให้คู่ความทุกฝ่ายทราบและไม่ตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะโต้แย้งคัดค้าน
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๔๓ ศาลอาจกำหนดเวลาให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นคำแถลงถึงผลการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวให้ศาลทราบ
เมื่อได้รับแจ้งผลแล้วศาลอาจมอบ หมายให้เจ้าพนักงานคดีประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือมีหนังสือเรียกบุคคลใดบุคคลหนึ่งมาให้ข้อมูลหรือส่งเอกสาร
เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าวแล้วรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว
หากปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจไม่แจ้งผลตามวรรคหนึ่งหรือไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยถูกต้องครบถ้วน
และศาลได้มีคำสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดนอกจากเจ้าพนักงานคดีดำเนิน การแทนตามมาตรา
๔๓ วรรคสอง ให้เจ้าพนักงานคดีมีหน้าที่ประสานงานเพื่อให้บุคคลนั้นสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งศาล
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการนั้น
ให้บุคคลดังกล่าวแถลงต่อศาลพร้อมด้วยพยานหลักฐานเพื่อให้ศาลกำหนดจำนวนค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิด
กรณีเช่นว่านี้ศาลอาจมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานคดีดำเนินการตรวจสอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว
และหากศาลมีคำสั่งประการใดแล้วให้บังคับคดีไปตามนั้น
และให้เจ้าพนักงานคดีให้ความช่วยเหลือแก่ผู้นั้นตามสมควรในการบังคับคดีแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้รับผิดในค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลดังกล่าว
ในการกำหนดจำนวนเงินตามวรรคสอง
ศาลต้องให้โอกาสผู้ประกอบธุรกิจมีโอกาสในการโต้แย้งคัดค้าน
หมวด
๗
อุทธรณ์
ข้อ ๓๐
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา
๔๘ ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำขอและอุทธรณ์ และมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๘ หากผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคำขอและอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็วต่อไป
ในกรณีมีการขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์หรือระยะเวลายื่นคำขออนุญาตอุทธรณ์
หากศาลชั้นต้นเห็นสมควรอนุญาตให้ขยาย ให้ศาลชั้นต้นสั่งตามที่เห็นสมควร
หากจะไม่อนุญาตให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๓๑ เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำขอตามข้อ ๓๐ แล้วให้รีบส่งสำเนาคำขอพร้อมอุทธรณ์ให้คู่ความอีกฝ่ายทราบและส่งคำขอดังกล่าวพร้อมอุทธรณ์และสำนวนคดีไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็ว
โดยไม่จำต้องรอคำคัดค้านของคู่ความฝ่ายอื่น
ข้อ ๓๒ การพิจารณาคำขอเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ตามข้อ
๓๑ ศาลอุทธรณ์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เมื่อเห็นว่าเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมหรือประ
โยชน์ของผู้บริโภคเป็นส่วนรวม
ข้อ ๓๓ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรอนุญาตให้อุทธรณ์
ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาและให้ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟัง
จำเลยอุทธรณ์อาจยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันฟังคำสั่ง
และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยอุทธรณ์ยื่นคำแก้อุทธรณ์
หรือนับแต่ระยะ เวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำแก้อุทธรณ์ได้สิ้นสุดลง
ให้ศาลชั้นต้นส่งคำแก้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้อุทธรณ์
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้รับคำแก้อุทธรณ์หรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว
ให้นำคดีลงสารบบความโดยพลัน
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้อุทธรณ์
ให้มีคำสั่งยกคำขอและสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนความคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งให้คู่ความทราบโดยเร็ว
ข้อ ๓๔
กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาเพื่อมีคำสั่งตามข้อ ๓๓
หากคดีมีการอุทธรณ์ปัญหาข้ออื่นนอกจากข้อที่ผู้ร้องได้ยื่นคำขออนุญาตอุทธรณ์รวมอยู่ด้วย
ไม่ว่าศาลชั้นต้นจะได้มีคำ สั่งรับอุทธรณ์เช่นว่านี้ไว้พิจารณาแล้วหรือไม่ก็ตาม
ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งด้วยว่าจะรับอุทธรณ์ข้ออื่นดังกล่าวไว้พิจารณาหรือไม่
กรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ปัญหาข้ออื่นตามวรรคหนึ่ง ให้นำความ
ในข้อ ๓๓ วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่อุทธรณ์ข้ออื่นที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับไว้พิจารณาด้วย
ในข้อ ๓๓ วรรคหนึ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่อุทธรณ์ข้ออื่นที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับไว้พิจารณาด้วย
ข้อ ๓๕
คดีที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามมาตรา ๔๗
ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้อุทธรณ์หรือไม่ หากอนุญาตก็รับวินิจฉัยให้
หากไม่อนุญาตก็ให้ยกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่ต้องวินิจฉัย
ในประเด็นแห่งอุทธรณ์
ในประเด็นแห่งอุทธรณ์
ข้อ ๓๖
หากคู่ความประสงค์จะขอแถลงการณ์ด้วยวาจาต่อศาลอุทธรณ์ ให้ขอมา
ในตอนท้ายคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำแก้อุทธรณ์ โดยระบุประเด็นและเหตุผลความจำเป็นของการแถลงการณ์ด้วยวาจานั้น
ในตอนท้ายคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำแก้อุทธรณ์ โดยระบุประเด็นและเหตุผลความจำเป็นของการแถลงการณ์ด้วยวาจานั้น
เมื่อศาลอุทธรณ์อนุญาตให้มีการแถลงการณ์ด้วยวาจา
ให้กำหนดจำนวนระยะเวลาที่จะอนุญาตให้แต่ละฝ่ายแถลงการณ์ด้วยวาจากับแจ้งวันเวลานัดให้คู่ความทุกฝ่ายทราบ
ในการแถลงการณ์ด้วยวาจา
คู่ความไม่อาจเสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติมประกอบคำแถลงการณ์ด้วยวาจาได้
ข้อ
๓๗
ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หากพ้นกำหนด
หนึ่งปีนับแต่วันที่นำคดีลงสารบบความ ก็ให้บันทึกเหตุแห่งพฤติการณ์พิเศษที่ล่าช้าไว้ในสำนวน
หนึ่งปีนับแต่วันที่นำคดีลงสารบบความ ก็ให้บันทึกเหตุแห่งพฤติการณ์พิเศษที่ล่าช้าไว้ในสำนวน
หมวด ๘
ฎีกา
ข้อ ๓๘ การขอให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาตามมาตรา
๕๑ ให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นโดยแสดงถึง
(๑) ปัญหาที่ขออนุญาตฎีกาโดยชัดแจ้งและกะทัดรัด
(๒)
ความเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะหรือความสำคัญของปัญหาที่ทำให้ศาลฎีกาควรอนุญาตให้ฎีกา
ให้ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องและฎีกาของผู้ร้อง โดยนำความในข้อ ๓๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๓๙ เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำร้องตามข้อ ๓๘ แล้ว
ให้รีบส่งสำเนาคำร้องให้คู่ความอีกฝ่ายทราบและส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมฎีกาและสำนวนความไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็ว
โดยไม่จำต้องรอคำคัดค้านของคู่ความฝ่ายอื่น
ข้อ ๔๐ การพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาอนุญาตฎีกาตามข้อ
๓๘ ศาลฎีกา
มีดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตให้ฎีกา เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะหรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัย
มีดุลพินิจที่จะพิจารณาอนุญาตให้ฎีกา เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะหรือเป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัย
ปัญหาสำคัญตามวรรคหนึ่ง เช่น
(๑)
เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ขัดกับคำพิพากษาหรือคำสั่งอัน
ถึงที่สุดของศาลอื่น
ถึงที่สุดของศาลอื่น
(๒)
เมื่อคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญขัดกัน
หรือขัดกับแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกา
(๓)
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อกฎหมายที่สำคัญซึ่งยังไม่มีแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลฎีกามาก่อน
ข้อ ๔๑ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรอนุญาตให้ฎีกา
ให้มีคำสั่งรับฎีกาไว้พิจารณาและให้ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟัง
จำเลยฎีกาอาจยื่นคำแก้ฎีกาต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่
วันฟังคำสั่ง และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยฎีกายื่นคำแก้ฎีกา หรือนับแต่ระยะเวลา
ที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำแก้ฎีกาได้สิ้นสุดลง ให้ศาลชั้นต้นส่งคำแก้ฎีกาไปยังศาลฎีกา
หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้ฎีกา เมื่อศาลฎีกาได้รับคำแก้ฎีกาหรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความโดยพลัน
วันฟังคำสั่ง และภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยฎีกายื่นคำแก้ฎีกา หรือนับแต่ระยะเวลา
ที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำแก้ฎีกาได้สิ้นสุดลง ให้ศาลชั้นต้นส่งคำแก้ฎีกาไปยังศาลฎีกา
หรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคำแก้ฎีกา เมื่อศาลฎีกาได้รับคำแก้ฎีกาหรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นำคดีลงสารบบความโดยพลัน
ในกรณีที่ศาลฎีกาไม่อนุญาตให้ฎีกา
ให้มีคำสั่งยกคำร้องและสั่งไม่รับฎีกาแล้วส่งสำนวนความคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งให้คู่ความทราบโดยเร็ว
หมวด ๙
การบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ข้อ ๔๒ ในการใช้อำนาจตามมาตรา ๖๔ และมาตรา ๖๕
หรือปรากฏว่ามีข้อขัด ข้องในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ศาลอาจมอบหมายให้เจ้าพนักงานคดีตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวรวมทั้งแนวทางแก้ไขหรือความจำเป็นที่จะต้องกำหนดวิธีการใดเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา
รายงานข้อเท็จจริงของเจ้าพนักงานคดีตามวรรคหนึ่ง
ศาลมีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ
ก่อนที่จะออกคำสั่งในเรื่องนั้นก็ได้
ประกาศ ณ วันที่
......................................
(นายวิรัช
ลิ้มวิชัย)
ประธานศาลฎีกา