หลักนิติภาษิต บันทึกโดย หลวงสกล สัตยาทร / สวัสดิการของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด......ผู้ใดมาขอความยุติธรรม ผู้นั้นต้องมาด้วยมือสะอาด..... ผู้ใดละเมิดกฎหมาย จะแสวงหาความช่วยเหลือจากบทกฎหมายย่อมไม่บังเกิดผล.....จากมูลเหตุอันไร้ศีลธรรม ย่อมไม่เกิดสิทธิแห่งการเรียกร้อง..... อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนั้นไร้ผล....กฎหมายไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพ้นวิสัย.....บทกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ระวัง แต่ไม่ช่วยเหลือผู้ที่นอนหลับ.....ทุกสิ่งต้องสันนิษฐานว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ความตรงข้าม..... กฎหมายไม่ต้องการให้พิสูจน์สิ่งซึ่งชัดแจ้งต่อศาลแล้ว.....ถ้อยคำที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องการคำอธิบาย.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย..... เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.....ในเมื่อถ้อยคำนั้นตีความหมายไม่ได้เป็นสองนัยแล้ว ก็ไม่ควรให้มีการแปลความหมายที่ตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่แท้จริงนั้น ..... ท่านต้องไม่ทำให้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายแตกต่างหรือผันแปรไป....หลักการตีความหมายควรถือหลักเสรี และควรให้ถ้อยคำเป็นไปตามความตั้งใจ.....จะต้องเข้าใจถ้อยคำไปในทางที่จะให้วัตถุประสงค์นั้นเป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่เสียผล.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย....ในการตีความหมายในสัญญาควรต้องเพ่งเล็งเจตนาของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้อยู่....กฎหมายไม่บังคับให้ผู้ใดปรักปรำตนเองหรือให้หลักฐานเป็นปรปักษ์แก่ตน....ในทางอาชญากรรมย่อมมุ่งถึงเจตนา ไม่ใช่ผลของการกระทำ...ไม่มีผู้ใดต้องถูกลงโทษเนื่องจากความคิด....เพียงแต่การกระทำเท่านั้นยังไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิดเว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาที่ผิด....ผู้สำคัญผิดไม่ได้ถือว่าให้ความยินยอม.....ถือเอาตามน้ำหนักของพยาน ไม่ใช่จำนวนพยาน.....คำรับสารภาพที่รับต่อศาลย่อมมีน้ำหนักว่าการพิสูจน์อย่างอื่น.....เมื่อความเห็นเท่ากันจำเลยย่อมถูกยกฟ้อง ....ดุลยพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม.....คำพิพากษาของตุลาการที่ตัดสินเกินอำนาจย่อมไม่มีผล....การจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดที่สุดทีทำให้เกิดความอยุติธรรมมากที่สุดได้

การนำโฉนดที่ดินหรือ น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก. มาประกัน



การนำโฉนดที่ดินหรือ น.. หรือ .. . มาประกัน
          การใช้ที่ดินมีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (.. หรือ .. .) นอกจากผู้ขอประกันจะต้องยื่นต้นฉบับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้ว ผู้ประกันจะต้องยื่นเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินเหล่านี้
เอกสารที่ต้องยื่น
          . หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือจากที่ว่าการอำเภอหรือจากเขตในเขตที่ที่ดินตั้งอยู่แล้วแต่กรณี ซึ่งออกให้ภายในระยะเวลาไม่เกิน เดือน และราคาประเมินหลักทรัพย์จะต้องมีมูลค่าสูงกว่าวงเงินประกันร้อยละ ๕๐
          . ภาพถ่ายปัจจุบันของที่ดินจำนวน - ภาพ (ภาพถ่ายต้องชัดเจนสามารถบรรยายสภาพทรัพย์ได้)
          . แผนที่ทางไปที่ตั้งที่ดินหลักประกัน (ต้องวาดภาพและระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนให้สามารถเดินทางไปได้ถูกต้อง)
          . หนังสือให้ความยินยอมแนบท้ายสัญญาประกัน (ยินยอมให้ตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ประกันจากสถาบันการเงิน กรมที่ดิน สหกรณ์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในกรณีที่ต้องดำเนินการบังคับคดีกับผู้ประกันเพื่อนำเงินมาชำระค่าปรับตามคำสั่งศาล เนื่องจากขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินไม่พอที่จะชำระค่าปรับตามคำสั่งศาล)
          สำหรับในกรณีที่นำสิ่งปลูกสร้างในที่ดินมาเป็นหลักประกันพร้อมกับโฉนด .. หรือ .. . ผู้ขอประกันจะต้องแสดงหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและหนังสือรับรองรำคำประเมินสิ่งปลูกสร้างจากอำเภอหรือเขตที่ที่ดินตั้งอยู่ประกอบด้วย
กรณีหลักทรัพย์ที่มีเจ้าของหลายคน    
          หลักทรัพย์ที่มีเจ้าของหลายคน ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธ์ร่วมกันสามาถนำหลักทรัพย์มาเป็นหลักประกันในการร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวได้เต็มเนื้อที่ในโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้น แต่หากเจ้าของเพียงบางคนนำหลักทรัพย์ดังกล่าวมาร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวก็จะนำหลักทรัพย์มาใช้ได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น
การมอบอำนาจให้ผู้อื่นนำหลักทรัพย์มาร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว
          ในการมอบอำนาจจะต้องมีหนังสือมอบอำนาจหรือใบมอบอำนาจตาม .วิ..มาตรา ๔๗ ประกอบ .วิ..มาตรา ๑๕ พร้อมทั้งแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชำชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทั้งผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจด้วย ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจต้องทำ ที่ว่าการอำเภอหรือเขตซึ่งเป็นภูมิลำเนาของเจ้าของหลักทรัพย์หรือทรัพย์นั้นตั้งอยู่ โดยนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขตหรือผู้รักษาราชการแทนลงลายมือชื่อและประทับตราประจำตำแหน่งรับรองการมอบอำนาจหรือทำหนังสือมอบอำนาจในศาลต่อหน้าจ้าหน้าที่ศาล เพื่อป้องกันการปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจและนำหลักทรัพย์ของบุคคลอื่นมายื่นขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย

โดย นายอภินันท์ อุทัยรัตน์เจริญ นิติกร