หลักนิติภาษิต บันทึกโดย หลวงสกล สัตยาทร / สวัสดิการของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด......ผู้ใดมาขอความยุติธรรม ผู้นั้นต้องมาด้วยมือสะอาด..... ผู้ใดละเมิดกฎหมาย จะแสวงหาความช่วยเหลือจากบทกฎหมายย่อมไม่บังเกิดผล.....จากมูลเหตุอันไร้ศีลธรรม ย่อมไม่เกิดสิทธิแห่งการเรียกร้อง..... อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนั้นไร้ผล....กฎหมายไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพ้นวิสัย.....บทกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ระวัง แต่ไม่ช่วยเหลือผู้ที่นอนหลับ.....ทุกสิ่งต้องสันนิษฐานว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ความตรงข้าม..... กฎหมายไม่ต้องการให้พิสูจน์สิ่งซึ่งชัดแจ้งต่อศาลแล้ว.....ถ้อยคำที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องการคำอธิบาย.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย..... เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.....ในเมื่อถ้อยคำนั้นตีความหมายไม่ได้เป็นสองนัยแล้ว ก็ไม่ควรให้มีการแปลความหมายที่ตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่แท้จริงนั้น ..... ท่านต้องไม่ทำให้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายแตกต่างหรือผันแปรไป....หลักการตีความหมายควรถือหลักเสรี และควรให้ถ้อยคำเป็นไปตามความตั้งใจ.....จะต้องเข้าใจถ้อยคำไปในทางที่จะให้วัตถุประสงค์นั้นเป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่เสียผล.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย....ในการตีความหมายในสัญญาควรต้องเพ่งเล็งเจตนาของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้อยู่....กฎหมายไม่บังคับให้ผู้ใดปรักปรำตนเองหรือให้หลักฐานเป็นปรปักษ์แก่ตน....ในทางอาชญากรรมย่อมมุ่งถึงเจตนา ไม่ใช่ผลของการกระทำ...ไม่มีผู้ใดต้องถูกลงโทษเนื่องจากความคิด....เพียงแต่การกระทำเท่านั้นยังไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิดเว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาที่ผิด....ผู้สำคัญผิดไม่ได้ถือว่าให้ความยินยอม.....ถือเอาตามน้ำหนักของพยาน ไม่ใช่จำนวนพยาน.....คำรับสารภาพที่รับต่อศาลย่อมมีน้ำหนักว่าการพิสูจน์อย่างอื่น.....เมื่อความเห็นเท่ากันจำเลยย่อมถูกยกฟ้อง ....ดุลยพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม.....คำพิพากษาของตุลาการที่ตัดสินเกินอำนาจย่อมไม่มีผล....การจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดที่สุดทีทำให้เกิดความอยุติธรรมมากที่สุดได้

สิทธิของจำเลย



สิทธิของจำเลย

          1. สิทธิที่จะได้รับหลักประกันในการที่ต้องมีผู้พิพากษานั่งพิจารณาครบองค์คณะ และผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีใดจะทำคำพิพากษานั้นมิได้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ (รัฐธรรมนูญฯ ม.236)

          2. สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีแล้ว (รัฐธรรมนูญฯ ม.241 วรรคสาม)

          3. สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามสมควรเพราะเหตุที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีและมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือการการะทำของจำเลยไม่เป็นความผิด (รัฐธรรมนูญฯ ม.246)

          4. ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องเป็นธรรม แต่งทนายแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ปรึกษาทนายความหรือผู้ที่จะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัวตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนา ถ่ายรูปสิ่งนั้น ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาและคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน และทนายความของจำเลยมีสิทธิเช่นเดียวกัน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 8)

          5. มีสิทธิที่จะขอโอนคดีหรือคัดค้านการขอโอนคดีของโจทก์ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 23)

          6. มีสิทธิที่จะรับเกียจผู้พิพากษา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 27)

          7. สิทธิที่จะไม่ถูกดำเนินคดีซ้ำ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36(4))

          8. สิทธิที่จะไม่ยอมไปพบเจ้าพนักงานหรือศาล ถ้าไม่มีหมายเรียก (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 52)

          9. มีสิทธิที่จะคัดค้านการถอนฟ้องของโจทก์ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35)

          10. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาของศาลโดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 วรรคแรก เว้นแต่จะพิจารณาลับหลังจำเลย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ทวิ)

          11. สิทธิที่จะได้รับทราบคำฟ้องและคำอธิบายจากศาล (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง)

          12. สิทธิที่จะแถลงเปิดคดีเมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว, นำพยานหลักฐานมาสืบ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 174 วรรคสอง วรรคสาม)

          13. สิทธิที่จะอยู่ในห้องพิจารณา แม้ศาลจะพิจารณาเป็นการลับ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา178 (2) และมีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาฟังพยานอื่นเบิกความโดยศาลไม่มีอำนาจสั่งให้ออกไปอยู่นอกห้องพิจารณา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 236)

          14. สิทธิที่จะอุทธรณ์ ฎีกา คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่ง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 230)

          15. สิทธิที่จะขอไปฟังการเดินเผชิญสืบพยานหรือส่งประเด็นไปศาลอื่น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 230)

          16. สิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233) สิทธิที่จะไม่ยอมให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232)

          17. สิทธิที่จะได้รับฟ้องการอ่านคำเบิกความพยานของศาลไม่ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 237)

          18. สิทธิที่จะอ่านหรือตรวจดู หรือขอสำเนาซึ่งพยานเอกสาร หรือตรวจดูพยานวัตถุ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 240 และมาตรา 242)

          19. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากศาลอุทธรณ์กรณีที่จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง)

          20. สิทธิที่จะได้รับการทุเลาการบังคับโทษจำคุกโทษประหารชีวิต (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา246, 247,248)

          21. สิทธิที่จะทูลเกล้าขอรับพระราชทานอภัยโทษ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 ถึงมาตรา 267)