หลักนิติภาษิต บันทึกโดย หลวงสกล สัตยาทร / สวัสดิการของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด......ผู้ใดมาขอความยุติธรรม ผู้นั้นต้องมาด้วยมือสะอาด..... ผู้ใดละเมิดกฎหมาย จะแสวงหาความช่วยเหลือจากบทกฎหมายย่อมไม่บังเกิดผล.....จากมูลเหตุอันไร้ศีลธรรม ย่อมไม่เกิดสิทธิแห่งการเรียกร้อง..... อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนั้นไร้ผล....กฎหมายไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพ้นวิสัย.....บทกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ระวัง แต่ไม่ช่วยเหลือผู้ที่นอนหลับ.....ทุกสิ่งต้องสันนิษฐานว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ความตรงข้าม..... กฎหมายไม่ต้องการให้พิสูจน์สิ่งซึ่งชัดแจ้งต่อศาลแล้ว.....ถ้อยคำที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องการคำอธิบาย.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย..... เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.....ในเมื่อถ้อยคำนั้นตีความหมายไม่ได้เป็นสองนัยแล้ว ก็ไม่ควรให้มีการแปลความหมายที่ตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่แท้จริงนั้น ..... ท่านต้องไม่ทำให้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายแตกต่างหรือผันแปรไป....หลักการตีความหมายควรถือหลักเสรี และควรให้ถ้อยคำเป็นไปตามความตั้งใจ.....จะต้องเข้าใจถ้อยคำไปในทางที่จะให้วัตถุประสงค์นั้นเป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่เสียผล.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย....ในการตีความหมายในสัญญาควรต้องเพ่งเล็งเจตนาของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้อยู่....กฎหมายไม่บังคับให้ผู้ใดปรักปรำตนเองหรือให้หลักฐานเป็นปรปักษ์แก่ตน....ในทางอาชญากรรมย่อมมุ่งถึงเจตนา ไม่ใช่ผลของการกระทำ...ไม่มีผู้ใดต้องถูกลงโทษเนื่องจากความคิด....เพียงแต่การกระทำเท่านั้นยังไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิดเว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาที่ผิด....ผู้สำคัญผิดไม่ได้ถือว่าให้ความยินยอม.....ถือเอาตามน้ำหนักของพยาน ไม่ใช่จำนวนพยาน.....คำรับสารภาพที่รับต่อศาลย่อมมีน้ำหนักว่าการพิสูจน์อย่างอื่น.....เมื่อความเห็นเท่ากันจำเลยย่อมถูกยกฟ้อง ....ดุลยพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม.....คำพิพากษาของตุลาการที่ตัดสินเกินอำนาจย่อมไม่มีผล....การจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดที่สุดทีทำให้เกิดความอยุติธรรมมากที่สุดได้

สิทธิของผู้ต้องหาในการขอให้รัฐจัดหาทนายความ


สิทธิของผู้ต้องหาในการขอให้รัฐจัดหาทนายความ
            มาตรา 134/1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญาโดยให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ทนายความที่รัฐจัดหาให้ได้รับเงินรางวัลและค่าใช้ จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎ หมาย  โดยการให้มีทนายความเพื่อให้เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำและช่วยเหลือทางกฎหมายตลอดระยะเวลาการสอบสวนและให้ทนายความมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่
          ในการนี้ กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ.2549 และระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่รัฐจัดหาให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. 2550 เพื่อรองรับบทบัญญัติดังกล่าว กล่าวคือ
ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการจัดหาทนายความได้
          1. คดีที่ผู้ต้อหามีอัตราโทษประหารชีวิตและไม่มีทนายความ
          2. คดีที่ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและไม่มีทนายความ
          3. คดีที่ผู้ต้องหามีอัตราโทษจำคุก ไม่มีทนายความและต้องการให้รัฐจัดหาทนายความให้
กระบวนการส่งเสริมสิทธิแก่ผู้ต้องหาในการสอบสวนคดีอาญา
          เมื่อผู้ต้องหาถูกจับกุม
           ขั้นตอนที่ 1. พนักงานสอบสวนแจ้งสิทธิและจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาจากรายชื่อทนายความที่มีอยู่ในเขตท้องที่นั้น
           ขั้นตอนที่ 2. ทนายความปฏิบัติหน้าที่และยื่นคำขอรับเงินรางวัลและค่าใช้จ่าย
           ขั้นตอนที่ 3. ผู้แทนกระทรวงยุติธรรมพิจารณาเบิกจ่ายรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความ
          หน้าที่ของทนายความ
                   - ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
                   - เข้าร่วมการสอบปากคำ
                   - ยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา
                   - รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับคดี
                   - ว่าต่างแก้ให้แก่ผู้ต้องหาในขั้นสอบสวน
สิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับทนายความที่พนักงานสอบสวนจัดหาให้
          เมื่อพนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้แล้ว ถ้ามีเหตุอันสมควรใดที่เห็นว่าทนายความที่จัดหาให้อาจไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ทนายความได้อย่างเต็มความสามารถ ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่รับทนายความที่พนักงานสอบสวนจัดหาได้
          เหตุอันสมควรในการปฏิเสธไม่รับทนายความ
           -ทนายความมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดี
          -ทนายความเป็นญาติเกี่ยวข้องกับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
การร้องขอให้บุคคลอื่นเป็นผู้จัดหาทนายความแทนพนักงานสอบสวน
          เมื่อผู้ต้องหามีเหตุอันสมควรที่จะปฏิเสธไม่รับทนายความที่พนักงานสอบสวนจัดหาให้ ผู้ต้องหาหรือผู้ได้รับมอบหมายที่พนักงานสอบสวนจัดหาให้ ผู้ต้องหาหรือผู้ได้รับมอบหมายอาจร้องขอให้บุคคลอื่นเป็นผู้จัดหาทนายความให้แทนพนักงานสอบสวน โดยอาจทำได้ในวิธีอย่างหนึ่งอย่างใด ต่อไปนี้
          1. ร้องขอต่อผู้แทนกระทรวงยุติธรรม
          ในกรุงเทพ ได้แก่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
          ในต่างจังหวัด ได้แก่ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรม
          2. ร้องขอต่อผู้แทนสภาทนายความ
          ในกรุงเทพ ได้แก่ นายกสภาทนายความหรือที่ได้รับมอบหมาย
          ในต่างจังหวัด ได้แก่ ประธานสภาทนายความจังหวัดหรือได้รับมอบหมาย
ผู้ต้องหาไม่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายให้แก่ทนายความ
          ทนายความมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าทีจากกระทรวงยุติธรรม ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่รัฐจัดหาให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. 2550
อัตราเงินรางวัลทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่เงินรางวัลทนายความที่ปฏิบัติหน้าที่
            คดีประเภทที่ 1 คือ คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต อัตราเงินรางวัล 20,000 บาท
            คดีประเภทที่ 2 คือ คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สิบปีขึ้นไปแต่ไม่ถึงกับประหารชีวิต อัตราเงินรางวัล 15,000 บาท
            คดีประเภทที่ 3 คือ คดีอื่นนอกจากคดีในประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 หรือกรณีคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในความผิดฐานครอบครองหรือเสพ อัตราเงินรางวัล 10,00 บาท
            คดีประเภทที่ 4 คือ คดีที่มีอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงและผู้ต้องหาในการรับสภาพ อัตราเงินรางวัล 500 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
          ได้ที่สถานีตำรวจทั่วประเทศ สำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั่วประเทศ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โทร 02 141 2933-34 02 502 8191 02 141 2818 และ www.rlpd.moj.go.th