การมีทนายความของผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมถึงสิทธิมนุษยชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ทุกคนจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นคนยากจนไม่สามารถจัดหาทนายความเองได้ เพื่อเป็นหลักประกันให้ความเป็นธรรมเมื่อถูกดำเนินคดีอาญา เริ่มตั้ง แต่บุคคลดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาคดีของศาล
ประเทศไทยมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาบัญญัติให้รัฐจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา
การมีทนายความของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญามีความสำคัญและจำเป็นต่อกระบวนการยุติธรรม
ถ้าผู้ต้องหาหรือจำเลยมีทนายความจะทำให้จำเลยได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิ ไม่เสียเปรียบในการสู้คดี
ทำให้การพิจารณาคดีมีความเป็นธรรม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา บัญญัติถึงการจัดหาทนายความให้แก่จำเลยในชั้นศาล
ไว้ในมาตรา 173 ความว่า ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตหรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล
ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้
ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ
ก็ให้ศาลตั้งทนายความให้
ดังนั้นในกรณีที่ศาลไม่ถามเรื่องทนายความตามที่กฎหมายกำหนด
หากศาลพิจารณาพิพากษาคดีไป ก็ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่ถูกต้อง จำเลยสามารถอุทธรณ์ฎีกาต่อสู้กรณีนี้ได้
ดังปรากฏตามแนวคำพิพากษาฎีกาต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่
344/2549
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน
3
ปีและปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม
ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง
จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา
ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 8 เพื่อพิจารณาพิพากษา
ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้
ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ในกรณีที่หากศาลถามจำเลยถึงเรื่องทนายความแล้ว
แต่ศาลไม่ตั้งทนายความให้ จำเลยต้องคัดค้านโดยเร็วที่สุด อย่างช้าไม่เกิน 8
วันนับแต่รู้ว่าศาลไม่แต่งทนายความให้ หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปแล้วจะเป็นผลร้ายสำหรับจำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 860/2553
เมื่อปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่า
จำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งทนายความให้ตลอดมาจนกระทั่งสืบพยานจำเลยเสร็จ แต่ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้แต่งตั้งทนายความให้จำเลย
ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 173
วรรคสอง จำเลยต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวไม่ช้ากว่า
8 วันนับแต่วันทราบกระบวนพิจารณานั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
คำร้องของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่คดีที่มีโทษถึงตาย
ศาลต้องตั้งทนายความให้ตั้งแต่เริ่มพิจารณาคดีแม้จำเลยจะไม่ต้องการก็ตาม มิฉะนั้นการดำเนินการะบวนพิจารณาในชั้นศาลจะเป็นการไม่ถูกต้อง
ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องกลับมาพิจารณาคดีใหม่ ดังตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาด้านล่างนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3133/2551
คดีนี้
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน 3,800 เม็ด น้ำหนัก 382.810
กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ ได้ 28.483 กรัม
ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย กรณีจึงต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม
อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่
ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นคนละกรณีกับวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว
ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ที่ศาลต้องสอบถามด้วยว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ดังนั้นตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ
ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่
ทั้งนี้เพื่อความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
แต่คดีนี้ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ท้ายคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าศาลชั้นต้นสอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว
แต่จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ดังนี้
จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย
แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไปจนเสร็จ
แม้ต่อมาจำเลยจะได้แต่งทนายความเข้ามา แต่ก็เป็นการแต่งทนายความเข้ามาในภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้ว
ดังนั้นขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืพยานโจทก์ในคดีนี้
จำเลยยังไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนินคดี
อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
ประกอบด้วยมาตรา 225
การสอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ในคดีอาญา/คดียาเสพติด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5294/2549
ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้สอบปากคำเด็กหญิง
ว.ซึ่งมีอายุ 13 ปีเศษในฐานะพยาน โดยไม่ได้จัดให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำ คำให้การของเด็กหญิง ว.
จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.
มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ผลของการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรานี้
คงทำให้คำให้การในชั้นสอบสวนของเด็กหญิง ว. ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
226 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 มาตรา 243 วรรคสอง เท่านั้น
ไม่เป็นเหตุให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเสียไปทั้งหมดถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดในคดีนี้ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ แม้การสอบ สวนเด็กหญิง ว.
ซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์อ้างเด็กหญิง ว. เป็นพยาน และเด็กหญิง ว. ได้เบิกความต่อหน้าศาลโดยผ่านนักสังคมสงเคราะห์ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา
172 ตรี แล้ว ศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของเด็กหญิง ว. เป็นพยานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2020/2542
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายความหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา
173 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลย เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการดังกล่าว
และศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้ดำเนินการให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขให้ถูกต้อง
จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
จึงเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
208(2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
8366/2544
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ
มาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งมีโทษสถานเดียวคือประหารชีวิต ในวันนัดสอบคำให้การจำเลย
ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความไม่ขอต่อสู้คดี โดยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้และเลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย
โดยไม่ได้ตั้งทนายความให้แก่จำเลย เมื่อถึงวันนัด ศาลชั้นต้นได้สืบพยานโจทก์ไปสองปาก
โดยจำเลยไม่มีทนายความ ต่อมาศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาแล้วทั้งหมดและมีหนังสือตั้งทนายความให้แก่จำเลย
กับเลื่อนคดีไปนัดสืบพยานโจทก์ใหม่ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ให้พยานโจทก์ทั้งสองปากที่เบิกความตอบโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนเพราะเป็นการผิดระเบียบไปแล้ว
เข้าเบิกความตอบคำซักถามของโจทก์ใหม่ เพียงแต่ให้ทนายจำเลยถามค้านพยานโจทก์ทั้งสองปากนี้ต่อไปเลยเท่านั้น
ดังนี้ การดำเนินกระ บวนพิจารณาของศาลชั้นต้น เป็นการไม่ชอบและการที่ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีนี้ต่อมาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบ ร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา
ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นว่ากล่าวและเห็นควรแก้ไขโดยย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
4460/2546
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 173 มีเจตนารมณ์เพื่อเปิดโอกาสให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่เมื่อข้อหาที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตศาลชั้นต้นย่อมมีหน้าที่ต้องสอบถามจำเลยเกี่ยวกับทนายความเสียก่อนตามมาตรา
173 จะด่วนไปสอบถามคำให้การจำเลยโดยจำเลยยังไม่มีทนายความไม่มีผูกพันจำเลย
ต้องถือเสมือนว่าจำเลยยังมิได้ให้การตามที่ศาลสอบถามและบันทึกไว้ อย่างไรก็ดี แม้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในเรื่องดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่ปรากฏว่าในวันสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยได้แต่งทนายความเข้ามาว่าต่างให้ ทนายความของจำเลยยังแก้ต่างให้ทุกนัดจนเสร็จคดี
กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตามมาตรา 208(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7701/2547
คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต
ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา
173 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่
ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้เป็นคนละกรณีกับวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว ที่ศาลต้องสอบถามด้วยว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่
ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่
ทั้งนี้เพื่อให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทประหารชีวิต เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย
การพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา
225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
6327/2548
คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกจึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่
ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา
3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล
เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวในวันสอบคำให้การของจำเลย
แม้จำเลยจะแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดีในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ก็เป็นการแต่งตั้งทนายความหลังจากศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยแล้ว
จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
208 (2), มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ
มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา
3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
344/2549
โจทก์ฟ้องคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน
3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่ในการพิจารณาคดีก่อนถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
173 วรรคสอง จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระ
บวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณา ให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค
8 เพื่อพิจารณาพิพากษา ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้
ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3133/2551
คดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่
2 พฤษภาคม 2549 จำเลยมีเมทแอมเฟตามีน
3,800 เม็ด น้ำหนัก 382.810 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์
ได้ 28.483 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย กรณีจึงต้องด้วยบทกำหนดโทษตาม
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่
ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้ อันเป็นคนละกรณีกับวรรคสองของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก
ที่ศาลต้องสอบถามด้วยว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ ดังนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่มีทนายความ ศาลก็ต้องตั้งทนายความให้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยต้องการทนายความหรือไม่
ทั้งนี้เพื่อความคุ้มครองแก่จำเลยในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิตในการต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
แต่คดีนี้ปรากฎตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ฉบับลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2549 ท้ายคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าศาลชั้นต้นสอบจำเลยเรื่องทนายความแล้ว
แต่จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ดังนี้ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่สอบถามจำเลยเรื่องทนายความโดยไม่ตั้งทนายความให้จำเลย
แล้วดำเนินการสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไปจนเสร็จ แม้ต่อมาจำเลยจะได้แต่งทนายความเข้ามา
แต่ก็เป็นการแต่งทนายความเข้ามาในภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้ว
ดังนั้น ขณะที่ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์ในคดีนี้ จำเลยยังไม่มีทนายความคอยช่วยเหลือในการดำเนินคดี
อันเป็นกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
5764/2550
เจตนารมณ์ของ ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น ก็เพื่อให้จำเลยมีทนายความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีในความผิดที่มีโทษจำคุก
แม้ว่าการทำหน้าที่ของ พ. ในฐานะทนายความของจำเลยจะไม่ปรากฏใบแต่งทนายความตั้งให้
พ. เป็นทนายความของจำเลย แต่ พ. ก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายความของจำเลยตลอดมาจนเสร็จสิ้นการพิจารณาของศาลชั้นต้น
โดยจำเลยยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายโจทก์ก็มิได้คัดค้านแต่ประการใด
ตามพฤติการณ์จึงถือได้ว่าจำเลยได้มอบให้ พ. เป็นทนายความของจำเลยในคดีนี้แล้ว
ทั้งภายหลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการจัดใบแต่งทนายความเสียให้ถูกต้อง แต่จำเลยแถลงว่าไม่ประสงค์จะแต่งทนายความเนื่องจากต้องการให้การรับสารภาพ
ยิ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาจำเลยไม่เสียเปรียบ กรณีไม่เป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
3279/2550
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่
1 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม
อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นบัญญัติว่า
"ก่อนเริ่มพิจาร ณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งทนายความให้"
ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยทั้งสองเรื่องทนายความแล้ว จำเลยที่ 1 แถลงไม่ต้องการทนายความแต่ศาลชั้นต้นให้มีหนังสือขอแรงทนายความให้จำเลยทั้งสอง
ซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 1 แต่หลังจากนั้นมีการตั้งทนายความให้จำเลยที่
2 เพียงคนเดียวแล้วดำเนินคดีไปจนเสร็จการพิจารณา โดยไม่มีการตั้งทนายความให้จำเลยที่
1 ด้วย แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาก็ตาม
แต่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 พอใจในผลแห่งคำพิพากษาแล้ว โดยเห็นได้จากจำเลยที่
1 มิได้อุทธรณ์ กับเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำเลยที่
1 ฐานมีฝิ่นเพื่อจำหน่ายอีกกระทงหนึ่ง โดยเพิ่มเติมโทษขึ้นอีกตามอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว
จำเลยที่ 1 ก็มิได้ฎีกาโต้เถียงแต่อย่างใด และเนื่องจากศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า
จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แสดงว่าข้อเท็จจริงในส่วนของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีทนายความในการต่อสู้คดีก็รับฟังได้มั่นคงเช่นนั้น
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่ใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 ก็เป็นพยาน
หลักฐานเดียวกันกับที่ใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ว่าการทำหน้าที่ของทนายจำเลยที่
2 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 มีผลเป็นการดูแลคดีในส่วนของจำเลยที่
1 ด้วยในตัว ดังนี้ จำเลยที่ 1 จะมีทนายความในการดำเนินกระบวนพิจารณาหรือไม่ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยน
แปลงไป ทั้งปรากฏด้วยว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดแก่จำเลยที่
1 ไปแล้วกว่า 2 ปี ด้วย ซึ่งทำให้จำเลยที่
1 ได้รับสิทธิในฐานะนักโทษเด็ดขาดไปบ้างแล้ว แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
195 วรรคสองก็ตาม แต่ศาลฎีกาไม่เห็นเป็นการจำเป็นที่จะพิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีตาม
ป.วิ.อ. มาตรา
208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
2617/2543
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์ของจำเลยที่
1 ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พ.ศ. 2534 มาตรา 30,31 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดไว้โดยเฉพาะ
การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง
และศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยที่ 1 โดยชอบ ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีที่จำเลยที่
1 กับพวกถูกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ผู้ร้องได้แถลงเพื่อให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องโดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นัดไต่สวนคำร้องและได้ส่งหมายนัดให้จำเลยที่
1 โดยชอบการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
การดำเนินคดีขอริบทรัพย์สินในคดีนี้เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พ.ศ. 2534 อันเป็นกระบวนการพิเศษ พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแตกต่างไปจากการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาทั่วไป
กล่าวคือตามมาตรา 30 วรรคสอง จะมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านหรือไม่ก็ได้
ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดอ้างตัวเป็นเจ้าของทรัพย์สินก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
มาตรา 30 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลชั้นต้นสั่งริบทรัพย์สินได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามมาตรา
30 วรรคสองส่วนกรณีมีบุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านตามมาตรา
30 วรรคสอง บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีอาจจะเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือบุคคลอื่นที่อยู่นอกคดีดังกล่าวก็ได้
บุคคลที่ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีในกรณีนี้จึงไม่ได้เข้ามาในคดีในฐานะจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
แต่เข้ามาในฐานะอ้างว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์สิน การไต่สวนคำร้องของศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยที่
1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
การไต่สวนคำร้องที่ขอให้ริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่จำเลยที่
1 กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ซึ่งมีอัตราโทษที่ศาลต้องตั้งทนายความให้จำเลยหากกรณีมีบุคคลเข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสอง และบุคคลดังกล่าวไม่มีทนายความ ก็ไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 173 ที่ศาลจะต้องตั้งทนายความให้ก่อนเริ่มพิจารณา แม้จำเลยที่
1 จะมาศาลในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรก และในวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งก็ตาม
เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเพื่อคัดค้านก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา
30 วรรคสอง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ใน
มาตรา 30 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องนัดแรกโดยไม่เลื่อนคดีไปนั้นชอบแล้ว
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ใช้รถยนต์ของกลางเข้าไปเกี่ยวข้องในความผิดที่จำเลยที่ 1กับพวกถูกฟ้องเป็นจำเลยในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยสมัครใจและมีส่วนได้เสียหรือไม่และคดีที่จำเลยที่
1 กับพวกถูกฟ้องดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด ศาลจะสั่งริบรถยนต์ของกลางไม่ได้นั้น
เท่ากับจำเลยที่ 1ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีว่า จำเลยที่ 1
ไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดในคดีที่จำเลยที่
1 กับพวกถูกฟ้องข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจะมีการนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคสาม หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างก็มีผลให้ศาลไม่อาจสั่งริบรถยนต์ของกลางนั่นเอง
การที่บุคคลใดจะพิสูจน์ว่าตนไม่มีโอกาสทราบหรือไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิด
และจะมีการนำทรัพย์สินของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุทธรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามมาตรา
30 วรรคสาม จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ในมาตรา
30 วรรคสองเสียก่อน คือต้องยื่นคำร้องขอคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
เพราะมิฉะนั้นหากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว ยังให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินของกลางอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีได้อีก
ก็ย่อมมีผลเท่ากับให้บุคคลดังกล่าวร้องขอทรัพย์สินของกลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา
36 โดยปริยายอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พ.ศ. 2534 มาตรา 30 วรรคสาม ตอนท้ายที่ห้ามมิให้นำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มาใช้บังคับ เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เข้ามาในกระบวนการที่กำหนดไว้ตามมาตรา
30 วรรคสอง จำเลยที่ 1 จึงอุทธรณ์ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีดังกล่าวไม่ได้