หลักนิติภาษิต บันทึกโดย หลวงสกล สัตยาทร / สวัสดิการของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด......ผู้ใดมาขอความยุติธรรม ผู้นั้นต้องมาด้วยมือสะอาด..... ผู้ใดละเมิดกฎหมาย จะแสวงหาความช่วยเหลือจากบทกฎหมายย่อมไม่บังเกิดผล.....จากมูลเหตุอันไร้ศีลธรรม ย่อมไม่เกิดสิทธิแห่งการเรียกร้อง..... อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนั้นไร้ผล....กฎหมายไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพ้นวิสัย.....บทกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ระวัง แต่ไม่ช่วยเหลือผู้ที่นอนหลับ.....ทุกสิ่งต้องสันนิษฐานว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ความตรงข้าม..... กฎหมายไม่ต้องการให้พิสูจน์สิ่งซึ่งชัดแจ้งต่อศาลแล้ว.....ถ้อยคำที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องการคำอธิบาย.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย..... เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.....ในเมื่อถ้อยคำนั้นตีความหมายไม่ได้เป็นสองนัยแล้ว ก็ไม่ควรให้มีการแปลความหมายที่ตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่แท้จริงนั้น ..... ท่านต้องไม่ทำให้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายแตกต่างหรือผันแปรไป....หลักการตีความหมายควรถือหลักเสรี และควรให้ถ้อยคำเป็นไปตามความตั้งใจ.....จะต้องเข้าใจถ้อยคำไปในทางที่จะให้วัตถุประสงค์นั้นเป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่เสียผล.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย....ในการตีความหมายในสัญญาควรต้องเพ่งเล็งเจตนาของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้อยู่....กฎหมายไม่บังคับให้ผู้ใดปรักปรำตนเองหรือให้หลักฐานเป็นปรปักษ์แก่ตน....ในทางอาชญากรรมย่อมมุ่งถึงเจตนา ไม่ใช่ผลของการกระทำ...ไม่มีผู้ใดต้องถูกลงโทษเนื่องจากความคิด....เพียงแต่การกระทำเท่านั้นยังไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิดเว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาที่ผิด....ผู้สำคัญผิดไม่ได้ถือว่าให้ความยินยอม.....ถือเอาตามน้ำหนักของพยาน ไม่ใช่จำนวนพยาน.....คำรับสารภาพที่รับต่อศาลย่อมมีน้ำหนักว่าการพิสูจน์อย่างอื่น.....เมื่อความเห็นเท่ากันจำเลยย่อมถูกยกฟ้อง ....ดุลยพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม.....คำพิพากษาของตุลาการที่ตัดสินเกินอำนาจย่อมไม่มีผล....การจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดที่สุดทีทำให้เกิดความอยุติธรรมมากที่สุดได้

สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา


สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา

          "ผู้เสียหายในคดีอาญา" ได้แก่ ผู้ที่ถูกกระทำอันเป็นความผิดอาญา รวมถึงผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ และบุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภรรยาของผู้ที่ถูกทำร้ายถึงตายหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
          ผู้เสียหายมีสิทธิ ดังนี้
            1. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
          การร้องทุกข์ถือเป็นสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาที่จะไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งการร้องทุกข์เปรียบเสมือนการไปแจ้งความประสงค์ว่าตนต้องการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิด ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินคดีอาญา โดยเฉพาะคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวที่ต้องรอให้ผู้เสียหายไปร้องทุกข์เสียก่อน ตำรวจจึงจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และในขณะเดียวกันผู้เสียหายอาจจะไม่ใช้สิทธินั้นก็ได้ ซึ่งการไม่ไปร้องทุกข์ของผู้เสียหายจะส่งผลต่อการดำเนินคดีอาญาต่อส่วนตัวเท่านั้น ส่วนคดีอา ญาแผ่นดินจะไม่มีผลต่อการดำเนินคดีอาญาของตำรวจ
          ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวนเว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ
          "คำร้องทุกข์" หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำให้เกิดความเสีย หายแก่ผู้เสียหายและการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
           2. เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญา หรือขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
          สิทธิในการฟ้องคดีเอง โดยหลักแล้วการดำเนินคดีอาญาในประเทศไทยเป็นการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ มีกลไกของรัฐที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ซึ่งกว่าจะมีการฟ้องร้องคดีต่อศาลได้ ต้องผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอน มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในคดี จนเป็นที่เชื่อได้ว่าน่าจะกระทำความผิดจริง พนักงานอัยการจึงจะฟ้องคดีจำเลยต่อศาล แต่การดำเนินคดี อาญาของไทยก็ให้สิทธิผู้เสียหายมีสิทธิในการฟ้องคดีอาญาด้วยตนเองได้ด้วย ตามมาตรา 28 บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล (1) พนักงานอัยการ (2) ผู้เสียหาย
          3. เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
          4. ถอนฟ้องในคดีที่ได้เป็นโจทก์ฟ้องต่อศาล
          5. ยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์ ในคดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด
          สิทธิในการยุติคดี ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์คดีอาญาเพื่อแสดงความประ สงค์ในการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิด ในขณะเดียวกันผู้เสียหายก็มีสิทธิที่จะยุติการดำเนินคดี อาญากับผู้กระทำความผิดได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ก็มีเงื่อนไขในการยุติคดีตาม มาตรา 39 ที่ว่าสิทธินำคดี อาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้ (2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
          6. ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องต่อศาล
          สิทธิเรียกร้องร้องทางแพ่งในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา มาตรา 44/1 ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทด แทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยให้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้ โดยยื่นคำร้องก่อนมีการสืบพยานหรือในกรณีที่ไม่มีการสืบพยานต้องยื่นก่อนศาลมีคำพิพากษา
          7. ขอให้พนักงานอัยการมีคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาไป
          8.สิทธิในการคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
          สิทธิในข้อนี้โดยทั่วไปเรามักทราบจากสื่อว่า พนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัวโดยที่เราอาจไม่ทราบเลยว่าการคัดค้านการประกันตัวนั้นสามารถทำได้โดยผู้เสียหายเช่นกัน โดยอาจมาจากเหตุ ผลที่แตกต่างกันไป เช่น หวาดกลัวผู้กระทำผิด เกรงว่าผู้กระทำผิดจะหลบหนี เป็นต้น
          9. ผู้เสียหายจะยินยอมให้ตรวจตัวเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานหรือไม่ก็ได้ ถ้ายินยอมให้ตรวจ ผู้เสียหายที่เป็นหญิงมรสิทธิที่จะได้รับการตรวจตัวโดยเจ้าพนักงานหญิง
          ทั้งนี้ในบางครั้งความผิดอาญานั้นเกิดกับร่างกายของผู้เสียหาย แต่หากตัวผู้เสียหายเองไม่มีความสะดวกใจที่จะให้ตรวจร่างกายไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามที พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือแม้แต่ศาลก็ไม่มีสิทธิให้ผู้เสียหายเข้ารับการตรวจร่างกายแต่อย่างใด
          10. ในการชี้ตัวผู้ต้องหา ต้องจัดให้มีสถานที่เหมาะสมและป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหาย
          ในข้อนี้อาจจะกล่าวได้ว่าล้อกับสิทธิในเรื่องการคัดค้านการประกันตัวผู้กระทำผิด เพราะตามหลักการด้านงานกระบวนการยุติธรรมนั้นจำเป็นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้เสียหายเป็นประการแรก เพราะหากความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้เสียหายนั้นรัฐยังรักษาไม่ได้ ก็คงไม่จำเป็นต้องถามหาความยุติธรรมให้เสียเวลาแต่อย่างใด
          11. ผู้เสียหายที่เป็นเด็กมีสิทธิที่จะให้ปากคำและการสอบสวนในสถานที่ที่เหมาะสม รวมถึงมีบุคลากรที่เหมาะสมร่วมในการเข้าฟัง
          สิทธิข้อนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นเล็งเห็นถึงสภาพจิตใจของเด็กที่เข้าสู่กระ บวนการยุติธรรมตามแนวคิดสังคมสงเคราะห์ โดยเจ้าพนักงานมีหน้าที่จะต้องจัดหานักจิตวิทยา นักสัง คมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้เสียหาย  ร้องขอ รวมถึงพนักงานอัยการร่วมในการสอบสวนให้ปากคำด้วยเพื่อคำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้ให้ปากคำเป็นประเด็นสำคัญ
          12. คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ผู้เสียหายที่เป็นหญิงมีสิทธิได้รับการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนที่เป็นหญิง
          กรณีนี้จะเห็นได้ว่ากฎหมายเล็งเห็นถึงผลกระทบทางจิตใจในการสอบสวนผู้เสียหายจากความ ผิดเกี่ยวกับเพศที่เป็นหญิง จึงจัดให้ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องพนักงานสอบสวนที่เป็นหญิงได้เพราะเห็นว่ารูปแบบการสอบซักถามจะเป็นไปอย่างเห็นอกเห็นใจลูกผู้หญิงด้วยกันมากกว่าพนักงานสอบสวนที่เป็นชาย เช่น การถามว่า แต่งตัวโป๊หละสิถึงถูกข่มขืนเป็นต้น
          13. คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ผู้เสียหายมีสิทธิไม่ถูกถามด้วยคำถามอันเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้เสียหายกับบุคคลอื่นนอกจากจำเลย
          เช่นเดียวกับข้อ 12 ที่เป็นสิทธิเกี่ยวกับเรื่องเพศ แต่สิทธิข้อนี้หมายรวมถึงผู้ชายด้วย กล่าวคือหากเราเป็นผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศนั้น พนักงานสอบสวนบางท่านที่ไม่เชี่ยวชาญด้านหลักจิตวิทยาหรือสังคมสงเคราะห์ อาจจะมีการซักถามที่เกินเลยไปถึง พฤติกรรมทางเพศ” “รสนิยมทางเพศในชีวิตประจำวันของผู้เสียหาย เพียงเพราะเล็งเห็นประโยชน์ในทางคดีโดยลืมนึกถึงผลกระทบทางจิตใจของผู้เสียหาย ซึ่งโดยพื้นฐานจะได้รับผลกระทบอยู่แล้วในกรณีคดีประเภทดังกล่าว
          14. มีสิทธิถามคำให้การของผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน
          โดยปรกติหากเกิดข้อพิพาทกันทางอาญาก็ต้องมีการสอบสวนให้การกับเจ้าพนักงานสอบสวนเพื่อประโยชน์ในการค้นหาความจริง และดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ซึ่งในจุดจุดนี้ผู้เสียหายเองในฐานะผู้ได้รับความเสียหายอาจทั้งทางกาย และจิตใจ รัฐจึงให้สิทธิที่ผู้เสียหายจะซักถามคำให้การของผู้ต้องหาได้เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวผู้เสียหายเอง ทั้งในการเตรียมการของทนายความของผู้เสียหาย ในการต่อสู้ในชั้นศาล และความโปร่งใสของพนักงานสอบสวน
          15. มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องร้องต่อศาลขอให้สืบพยานไว้ล่วงหน้า
          16. ยื่นอุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลในคดีที่เป็นโจทก์ หรือคดีที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ
          17. มีสิทธิที่จะขอทราบข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และตรวจสอบเอกสารตลอดจนพยาน หลักฐานของตน
          สืบเนื่องจากข้อก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่ารัฐนั้นได้บัญญัติกฎหมายไว้เพื่อพิทักษ์สิทธิแก่ผู้เสียหาย ไว้เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมในหลายขั้นตอน เช่นข้อนี้ ผู้เสียหายสามารถให้ที่ปรึกษาทางกฎหมายเข้าร่วมตรวจสอบพยานหลักฐาน และเอกสารในทางคดีว่าครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร เพื่อประโยชน์สูงสุดในทางการผดุงไว้เพื่อความถูกต้องของคดีความนั่นเอง
          18. มีสิทธิขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหาย จากรัฐ โดยขอรับจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรี ภาพ กระทรวงยุติธรรม




สิทธิของผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย
และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำ เลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
          ผู้เสียหายที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ได้ให้ความหมายของผู้เสียหายไว้ว่าหมายถึง บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายถึงแก่ชีวิตหรือร่างกายหรือจิตใจเนื่องจากการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น โดยตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดนั้น
          วิเคราะห์ความหมายของผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและพระราช บัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ นั้นมีความแตกต่างกัน เพราะผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจาร ณาความอาญานั้นเป็นการให้ความหมายผู้เสียหายซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิในการดำเนินคดี ซึ่งยังหมาย ความรวมถึงบุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนด้วย แต่ความหมายผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายเป็นการกำหนดความหมายสำหรับบุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนที่รัฐจ่ายให้เพื่อเยียวยาความเสียหาย ดังนั้น ความหมายจึงแคบกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะผู้เสียหายที่จะได้รับการค่าตอบแทนต้องเป็นผู้เสียหายถึงชีวิต ร่างกายหรือจิตใจ
           ค่าตอบแทน หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเพื่อตอบแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือเนื่องจากมีการกระทำความผิดอาญาของผู้อื่น
          มาตรา 5 การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ผู้เสียหายหรือจำเลยพึงได้ตามกฎหมายอื่น
          มาตรา 6 ในกรณีที่ผู้เสียหายหรือจำเลยถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับค่าตอบแทนค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่าย แล้วแต่กรณี ให้สิทธิในการเรียกร้องและการรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายตกแก่ทายาทซึ่งได้รับความ เสียหายของผู้เสียหายหรือจำเลยนั้น ทั้งนี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
          มาตรา 17 ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหาย อันอาจขอรับค่าตอบแทนได้ต้องเป็นความผิดตามรายการที่ระบุไว้ท้ายพระราชบัญญัตินี้
          ความผิดที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งทำให้ผู้เสียหายอาจขอรับค่าตอบแทนได้ตามมาตรา 17 ได้แก่ ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2ความผิด ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศ มาตรา 276 ถึง มาตรา 287 ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต มาตรา 288 ถึง มาตรา 294 หมวด 2 ความผิดต่อร่างกาย มาตรา 295 ถึง มาตรา 300 หมวด 3 ความผิดฐานทาให้แท้งลูก มาตรา 301 ถึง มาตรา 305 หมวด 4 ความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก คนป่วยเจ็บ หรือชรา มาตรา 306 ถึง มาตรา 308



          มาตรา 18 ค่าตอบแทนตามมาตรา 17 ได้แก่
          (1) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
          (2) ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย จำนวนไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง
          (3) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
          (4) ค่าตอบแทนความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
          ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง คณะกรรมการจะกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับค่าตอบแทนเพียงใดหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำความผิด และสภาพความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ รวมทั้งโอกาสที่ผู้เสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายโดยทางอื่นด้วย
          หากจะกล่าวโดยสรุปให้เข้าใจง่ายอาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมของไทยในปัจจุบันนั้นมีการเอื้อประโยชน์ ให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้เสียหายในทางคดีอาญาอย่างมากที่จะดำรงไว้ซึ่งความถูกต้องใน ทางคดีความ และดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมในระบบงานกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ
          ดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 29 บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียว ยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ