หลักนิติภาษิต บันทึกโดย หลวงสกล สัตยาทร / สวัสดิการของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด......ผู้ใดมาขอความยุติธรรม ผู้นั้นต้องมาด้วยมือสะอาด..... ผู้ใดละเมิดกฎหมาย จะแสวงหาความช่วยเหลือจากบทกฎหมายย่อมไม่บังเกิดผล.....จากมูลเหตุอันไร้ศีลธรรม ย่อมไม่เกิดสิทธิแห่งการเรียกร้อง..... อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนั้นไร้ผล....กฎหมายไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพ้นวิสัย.....บทกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ระวัง แต่ไม่ช่วยเหลือผู้ที่นอนหลับ.....ทุกสิ่งต้องสันนิษฐานว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ความตรงข้าม..... กฎหมายไม่ต้องการให้พิสูจน์สิ่งซึ่งชัดแจ้งต่อศาลแล้ว.....ถ้อยคำที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องการคำอธิบาย.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย..... เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.....ในเมื่อถ้อยคำนั้นตีความหมายไม่ได้เป็นสองนัยแล้ว ก็ไม่ควรให้มีการแปลความหมายที่ตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่แท้จริงนั้น ..... ท่านต้องไม่ทำให้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายแตกต่างหรือผันแปรไป....หลักการตีความหมายควรถือหลักเสรี และควรให้ถ้อยคำเป็นไปตามความตั้งใจ.....จะต้องเข้าใจถ้อยคำไปในทางที่จะให้วัตถุประสงค์นั้นเป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่เสียผล.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย....ในการตีความหมายในสัญญาควรต้องเพ่งเล็งเจตนาของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้อยู่....กฎหมายไม่บังคับให้ผู้ใดปรักปรำตนเองหรือให้หลักฐานเป็นปรปักษ์แก่ตน....ในทางอาชญากรรมย่อมมุ่งถึงเจตนา ไม่ใช่ผลของการกระทำ...ไม่มีผู้ใดต้องถูกลงโทษเนื่องจากความคิด....เพียงแต่การกระทำเท่านั้นยังไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิดเว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาที่ผิด....ผู้สำคัญผิดไม่ได้ถือว่าให้ความยินยอม.....ถือเอาตามน้ำหนักของพยาน ไม่ใช่จำนวนพยาน.....คำรับสารภาพที่รับต่อศาลย่อมมีน้ำหนักว่าการพิสูจน์อย่างอื่น.....เมื่อความเห็นเท่ากันจำเลยย่อมถูกยกฟ้อง ....ดุลยพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม.....คำพิพากษาของตุลาการที่ตัดสินเกินอำนาจย่อมไม่มีผล....การจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดที่สุดทีทำให้เกิดความอยุติธรรมมากที่สุดได้

การผัดฟ้องและฝากขังในศาลแขวง



การผัดฟ้องและฝากขังในศาลแขวง

          นับแต่ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน 2556 แม้ระยะเวลาจะล่วงผ่านมาเกือบปีแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติจะพบปัญหาความไม่เข้าใจในข้อกฎหมายและแนวทางในการผัดฟ้องฝากขังของพนักงานสอบสวนอยู่หลายคนทีเดียว วันนี้จึงเก็บปัญหาดังกล่าวที่พบในการทำงานมาทำความเข้าใจกัน ในเรื่องการผัดฟ้อง-ฝากขัง น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านอยู่บ้าง โดยเฉพาะพนักงานสอบสวนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานนี้โดยตรง
           การผัดฟ้องและฝากขังเป็นหลักสำคัญของการดำเนินคดีอาญาในศาลแขวง เนื่องจากในการสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงนั้น เมื่อมีการจับกุมตัวผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ และในกรณีผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวก็ต้องฝากขังด้วย ในกรณีที่เกิดความจำเป็นไม่อาจฟ้องผู้ต้องหาให้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องต่อศาล ดังบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแขวงฯ มาตรา 7 ว่า ในการสอบสวนคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ เมื่อมีการจับตัวผู้ต้องหาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายใน กำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าใน กำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย
           ในกรณีที่ไม่มีการจับ แต่พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการพร้อมกับสั่งให้ผู้ต้องหาไปพบพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงให้ทันภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาได้รับแจ้งข้อหา แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนหรือจากที่ทำการของพนักงาน อัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วย
          ในกรณีที่เกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลให้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าวในวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปได้อีกคราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามคราว ในการวินิจฉัยคำร้องเช่นว่านี้ ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหาแสดงตัวต่อศาล ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ และศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาชี้แจงเหตุจำเป็น หรืออาจเรียกพยานมาเบิกความ ประกอบก็ได้
          เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบสามคราวแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องต่อไปอีกโดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตตามขอนั้นได้ก็ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยหรือผู้ต้องหาแสดงตัวต่อศาล ให้ศาลสอบถามผู้ต้องหาว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่ ในกรณีเช่นว่านี้ ศาลมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อไปได้คราวละไม่เกินหกวันแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินสองคราว
          สาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม  สรุปเป็นประเด็นสั้น ๆ เข้าใจง่าย ๆ คือ คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง
          ๑. กรณีไม่มีการจับ ถ้าพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาผู้ต้องหาแล้ว ต้องฟ้องภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่แจ้งข้อหา ถ้าฟ้องไม่ทัน ต้องผัดฟ้องหรือขออนุญาตฟ้องแล้วแต่กรณี เหมือนมีการจับทุกประการ ตาม ม.๗ วรรคสองที่แก้ไขใหม่ (เดิมนั้นผู้ต้องหามอบตัวโดยไม่มีหมายจับหรือถูกควบคุมตัวคดีอื่น ไม่จำต้องฟ้องในกำหนด ไม่ต้องผัดฟ้อง ไม่ต้องขออนุญาตฟ้อง)
          ๒. ในระหว่างสอบสวน หากผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาได้หลบหนีไป พนักงานสอบสวนส่งสำนวนที่สอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้อัยการพิจารณาได้ โดยไม่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปพร้อมสำนวน ถ้าพ้นกำหนดผัดฟ้อง ขออนุญาตอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องไว้ก่อนได้ ตาม ม.๗ วรรคท้าย (เดิมนั้นหากได้ตัวผู้ต้องหามาสอบสวนแล้ว ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นควรสั่งฟ้องต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนให้อัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหาถูกขังอยู่ ตาม ป.วิ.อาญา ม. ๑๔๒)
          ๓. กรณีผู้ต้องหาไม่ถูกควบคุมตัว ถ้าผู้ต้องหารับสารภาพตลอดข้อหา พนักงานสอบสวนสั่งผู้ต้องหาให้ไปพบพนักงานอัยการเพื่อฟ้องศาลด้วยวาจา โดยมิต้องทำการสอบสวนตาม ม. ๒๐ (เพิ่มเติมข้อความเรื่องสั่งผู้ต้องหาให้ไปพบอัยการ เพื่อสอดคล้อง ม. ๗ วรรคสอง)
          ๔. คดีค้างเก่าที่ไม่มีการจับ แต่แจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาไว้ ก่อนมีการแก้ไข วิ.แขวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๖ ใช้บังคับ ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้อัยการพร้อมกับสั่งผู้ต้องหาไปพบอัยการเพื่อฟ้องให้ทันภายในสี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่ วิ.แขวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๖ มีผลใช้บังคับ (วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๐.๐๐ น.) ถ้าฟ้องไม่ทัน...ต้องผัดฟ้อง... ขออนุญาตฟ้อง แล้วแต่กรณี ตาม วิ.แขวง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๖ มาตรา ๘
          ๕. หากผู้ต้องหารับสารภาพ จะไม่สามารถผัดฟ้องฝากขังได้ จะต้องนำตัวผู้ต้องหาฟ้องวาจาต่อศาล แต่หากผู้ต้องหาปฏิเสธจะแยกเป็น ๒ ประเด็น
          ๑. ผู้ต้องหาปฏิเสธและได้รับการปล่อยตัวไปชั่วคราว ชั้นสอบสวน พนักงานสอบสวนต้องทำการผัดฟ้องแต่ไม่ต้องฝากขัง
          ๒. ผู้ต้องหาปฏิเสธและอยู่ในระหว่างควบคุมของพนักงานสอบสวนจะต้องนำตัวมาศาลและทำคำร้องผัดฟ้อง ฝากขัง

ข้อแนะนำพนักงานสอบสวน
          ๑. คำร้องผัดฟ้องฝากขังครั้งที่ นอกจากจะมีคำร้องแล้ว ยังต้องปรากฏข้อมูลหรือพยานหลักฐานที่สนับสนุนเหตุการณ์ขอหมายด้วย เช่น สำเนาบันทึกการจับกุม สำเนาบัตรประจำตัวผู้ต้องหา คำให้การพยานผู้ร้อง (แบบพิมพ์ของศาล)
          ๒. ในการผัดฟ้องฝากขังครั้งที่ ๔-๕ ที่กำหนดให้มีคำแถลงถึงสาเหตุที่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้นเสนอต่อศาลนั้น ใช้คำให้การพยานผู้ร้อง (แบบพิมพ์ของศาล)
          . การขออำนาจศาลผัดฟ้องฝากขัง ต้องอยู่กำหนดภายใน ๔๘ ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับแต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติ ที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่ถูกจับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการพนักงานสอบสวนหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาล (... วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง .) ซึ่งไม่เหมือนกับศาลจังหวัดซึ่งจะนับเวลา ๔๘ ชั่วโมง นับแต่ผู้ถูกจับถูกนำตัวถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน
          . ดังนั้นให้พึงระวังกรณีจะครบ ๔๘ ชั่วโมง ที่ตรงกับวันหยุดราชการ เช่น ถูกควบคุมตัวในวันศุกร์ เวลา ๐๘.๐๐ . จะครบ ๔๘ ชั่วโมง ในวันอาทิตย์ เวลา ๐๘.๐๐ . ต้องทำการผัดฟ้องฝากขัง ในวันเสาร์ (ศาลเปิดทำการครึ่งวัน)
          บางกรณีตรงกับเวลาที่ศาลยังไม่เปิดทำการเช่น ถูกควบคุมในวันอังคาร เวลา  ๐๘.๐๐  .จะครบ ๔๘ ชั่วโมงในวันพฤหัสบดี เวลา ๐๘.๐๐ . แต่ขณะนั้นศาลยังไม่เปิดทำการ ต้องทำการผัดฟ้องฝากขังในวันพุธ
          . การผัดฟ้องฝากขัง ครั้งที่ ให้นับวันที่ไปขอศาลผัดฟ้องฝากขังนั้นเป็นวันแรก (นับย้ำ) และ สามารถขอได้ครั้งละ วัน เช่น ขอศาลผัดฟ้องฝากขังครั้งที่ ในวันที่ การนับวันแรกนับจากวันที่ (เรียกว่านับย้ำ) ถึงวันที่ (รวมหกวัน)
          . การผัดฟ้องฝากขังครั้งต่อไป ให้นับต่อจากวันที่ครบกำหนดฝากขังนั้น เช่น กรณีข้างต้น เมื่อครบวันที่ หากมีการผัดฟ้องฝากขังต่ออีกเป็นครั้งที่ ให้นับผัดฟ้องฝากขังครั้งที่ ในวันที่ เริ่มนับต่อไปอีก วัน คือวันที่ ถึงวันที่ ๑๓
          ๗. หากวันครบกำหนดผัดฟ้องฝากขังตรงกับวันหยุดราชการ กรณีนี้ ให้รวมถึงวันเสาร์ที่ศาลเปิดทำการครึ่งวันด้วย เพราะการเปิดทำการของศาลดังกล่าว เพื่อสำหรับการผัดฟ้อง ฝากขังครั้งแรกเท่านั้น ส่วนครั้งอื่น คือตั้งแต่ครั้งที่ ๒ ขึ้นไป ต้องทำการผัดฟ้องฝากขังในวันทำการของราชการตามปกติ
          ตัวอย่าง ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวในวันพฤหัสบดี จะครบ กำหนดผัดฟ้องฝากขังครั้งแรกในวันเสาร์ กรณี สามารถผัดฟ้อง ฝากขังในช่วงที่ศาลเปิดทำการวันเสาร์ได้ / แต่หากเป็นการครบกำหนดผัดฟ้องฝากขังครั้งที่ หรือ ๔ หรือ หรือ ในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์จะต้องผัดฟ้องฝากขังในวันศุกร์ที่เป็นวันทำการราชการตามปกติ ในกรณีนี้ให้ใช้รวมถึงกรณีวันหยุดของศาลในช่วงวันอื่นที่ไม่ได้เป็นวันเสาร์ อาทิตย์ ด้วย
          . การนับวันผัดฟ้องฝากขังช่วงที่ตรงกับวันหยุดนั้น ให้นับวันต่อจากวันที่ครบกำหนด เช่น ครบกำหนดผัดฟ้องฝากขังในวันที่ ๑๒ หากวันที่ ๑๒ ตรงกับวันอาทิตย์อันตรงกับวันหยุดราชการ ต้องผัดฟ้องฝากขังในวันศุกร์ที่ ๑๐ แต่การนับวันจะต้องเริ่มนับการผัดฟ้องฝากขังครั้งที่ ต่อจากวันที่ครบ คือวันที่ ๑๓ (นับต่อ)
          . การผัดฟ้องฝากขัง กฎหมายให้อำนาจครั้งละไม่เกิน วัน แต่ตามปกติจะขอ วันเป็นหลัก ไม่เกิน ครั้ง ในกรณีผัดฟ้องฝากขังครั้งที่ ๔-๕  ต้องมีคำแถลงถึงสาเหตุการสอบสวนไม่เสร็จสิ้นต่อศาลด้วย (ใช้คำให้การแบบพิมพ์ศาล)
          ๑๐. การผัดฟ้องฝากขังเป็นกรณีที่จะต้องแยกออกจากกัน การผัดฟ้องคือการขอให้ศาลผัดฟ้องคดีไว้ก่อน แต่การฝากขังคือการขอศาลออกหมายขังผู้ต้องหานั้น โดยวัตถุประสงค์ของการดำเนินคดีในศาลแขวง เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการสอบสวน จึงต้องเกิดการผัดฟ้องทุกกรณีเมื่อมีการควบคุมตัวผู้ต้องหาในความผิดคดีศาลแขวงและผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ กล่าวคือ หากผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวและไม่ได้รับการปล่อยตัวไปชั่วคราวชั้นสอบสวนจะต้องไปขออำนาจศาลผัดฟ้องฝากขัง แต่หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวไปชั่วคราว จะเป็นกรณีไปขออำนาจศาลผัดฟ้องเท่านั้น
          ๑๑. คำร้องขอผัดฟ้องฝากขัง หากเป็นกรณีที่ไม่มีตัวผู้ต้องหาไปศาล ให้ขีดฆ่าคำว่า ฝากขังในคำร้องออก
          ๑๒. การผัดฟ้องฝากขังจะต้องเกิดจากการควบคุมตัวก่อน หากไม่มีการควบคุม เช่น กรณีแจ้งข้อหากับผู้ต้องหาที่ไม่ใช่ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาที่มีหมายให้จับ .๑๓๔ เมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้วให้กลับไป ถือว่ายังไม่มีการควบคุม จึงไม่ต้องทำเรื่องผัดฟ้องฝากขังมาใช้


จิราภรณ์ รุจิโกไศย เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมชำนาญการ