การควบคุมตัวของพนักงานสอบสวน และการฝากขังของศาล
รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว
จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย”
ดังนั้น
รัฐจึงมีกฎหมายมารองรับการจำกัดเสรีภาพทางร่างกายอย่างมีขอบเขตเพื่อให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ
โดยไม่ลืมจะคุ้มครองและให้ความยุติธรรมแก่ผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิดังกล่าวด้วย
ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกท่านน่าจะรับทราบระยะเวลาที่ตำรวจสามารถคุมขังท่านได้ตามระดับของความผิดที่ถูกกล่าวหา
เพื่อใช้ปกป้องและโต้แย้งได้หากเจ้าหน้าที่มิได้ทำตามหลักกฎหมายดังกล่าวกำหนดไว้เมื่อเกิดมีการกระทำผิดขึ้น
เมื่อผู้ถูกจับกุมหรือผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวไว้ในสถานีตำรวจ
พนักงานสอบสวนจะควบคุมผู้ต้องหาไว้นานเท่าใดนั้น
ได้กำหนดเอาไว้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87
โดยกำหนดขอบเขตในการควบคุมผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดไว้เท่ากับความจำเป็นตามพฤติ
การณ์แห่งคดี
และมีการแบ่งเวลาในการควบคุมตัวตามอัตราโทษคดีที่ระบุเป็นข้อกล่าวหาไว้ดังนี้
สำหรับความผิดลหุโทษ
ซึ่งหมายถึงคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1
เดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินอัตราข้างต้น
เจ้าพนักงานจะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การ
และที่จะรู้ตัวว่าเป็นใคร และที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหนเท่านั้น ตัวอย่างเช่น
คดีเสพย์สุราจนเมาครองสติไม่ได้ และประพฤติตัววุ่นวาย ก่อความเดือดร้อนแก่ชาวบ้านทั่วไปขณะอยู่ในถนนสาธารณะหรือสาธารณสถานใดๆ
อันมีโทษปรับไม่เกิน 500
บาท เมื่อตำรวจจับท่านมา
ก็สามารถคุมตัวท่านสอบคำให้การจนกว่าท่านจะมีสติพอบอกชื่อและที่อยู่ปัจจุบัน
แล้วอาจทำการเปรียบเทียบปรับโทษแก่ท่านตามแต่ดุลพินิจของตำรวจ เป็นต้น
ส่วนคดีอาญาอื่นๆนอกจากคดีลหุโทษ
จะมีระยะเวลาในการควบคุมตัวที่ยาวนานกว่า
อันเนื่องจากเป็นการให้เวลาพอสมควรแก่ตำรวจในการสอบคำให้การจากผู้ถูกจับโดยตรง
มีหลัก เกณฑ์ดังนี้ ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่า 48 ชั่วโมง
หรือ 2
วัน นับแต่เวลาที่มาถึงสถานีตำรวจ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเพื่อทำการสอบสวน
หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น อาจขยายเวลาได้เท่าเหตุจำเป็น แต่รวมกันแล้วต้องมิให้เกิน
3
วัน โดยสรุปคือ ท่านจะถูกควบคุมตัวที่สถานีตำรวจได้สูงสุดไม่เกิน 3 วัน
หากต้องการคุมตัวนานกว่านี้ ก็ต้องยื่นคำร้องขอฝากขังต่อศาล ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาที่เจ้าพนักงานสอบสวนหรืออัยการต้องชี้แจงเหตุจำเป็นหรืออาจมีการสืบพยานหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
ศาลจักเป็นผู้พิจารณาโดยพิเคราะห์จากคำร้องและหลักฐานของเจ้าพนักงาน
ประกอบกับต้องคำนึงถึงการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาด้วยเช่นกัน
เมื่อศาลเห็นชอบในการคุมขังผู้ถูกกล่าวหาต่อไป
กฎหมายได้กำหนดขอบเขตของเวลาไว้อีกเช่นกัน หากพ้นกำหนดเวลาไปแล้ว
บุคคลนั้นจักได้รับการปล่อยเป็นอิสระ
โดยใช้อัตราโทษคดีที่ถูกกล่าวหาเป็นเกณฑ์กำหนดระยะเวลาคุมขัง ดังนี้
ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 6 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 500
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังได้ครั้งเดียว มีกำหนดไม่เกิน 7 วัน
ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่า 6 เดือน
แต่ไม่ถึง 10
ปี หรือปรับเกินกว่า 500
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆกันได้
แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12
วัน และรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 48
วัน
ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
จะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม ศาลมีอำนาจสั่งขังหลายครั้งติดๆกันได้
แต่ครั้งหนึ่งต้องไม่เกิน 12
วันและรวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 84
วัน
อัตราเวลาข้างต้นเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ
แต่เพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหา กฎหมายได้กำหนดด้วยว่า
เมื่อศาลสั่งขังครบ 48
วันแล้ว
หากพนักงานสอบสวนหรืออัยการต้องการคุมขังต่อไปโดยอ้างเหตุจำเป็นใดๆ
ศาลจะสั่งขังต่อไปได้ต่อเมื่อพนักงานสอบสวนหรืออัยการได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานหลักฐานมาให้ศาลไต่สวนจนเป็นที่พอใจแก่ศาล
อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาแต่งตั้งทนายความเพื่อแถลงข้อคัดค้านและซักถามพยานก็ได้
การขอประกันตัวผู้ต้องหา
1. การปฏิบัติ
1) ให้ผู้ที่มาขอประกันตัวผู้ต้องหา
ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่ก็ตาม
2)
หากไม่อาจเขียนคำร้องประกันได้เองให้ร้องขอต่อพนักงานสอบสวน
เพื่อสั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเขียนคำร้องให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
3)
เมื่อรับคำร้องแล้ว
ให้ขอหลักฐานการรับสัญญาประกันที่ลงเวลารับคำร้องไว้ด้วย
4)
พนักงานสอบสวนจะแจ้งผลการสั่งคำร้องให้เสร็จภายใน 24
ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับคำร้อง
5)
หากไม่ได้รับความสะดวกหรือล่าช้า
ให้รีบเข้าพบหรือแจ้งต่อสารวัตร สารวัตรหัวหน้างาน คนใดคนหนึ่ง
หรือหัวหน้าสถานีตำรวจนั้นให้ทราบทันที
2. หลักฐานในการขอประกันตัว
การประกันตัวผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ในชั้นสอบสวน ควรมีหลักฐานดังนี้
(1) บัตรประจำตัวประชาชน
(2) หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน
ได้แก่
- เงินสด (เงินตราของรัฐบาลไทยเท่านั้น)
- โฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้วหรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่า
ที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก)
ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาแล้ว
หรือพนักงานสอบสวนเชื่อว่าที่ดินมีราคาไม่น้อยกว่าสองเท่าของจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน
- พันธบัตรรัฐบาล
- สลากออมสินหรือสมุดฝากเงินธนาคารประเภทฝากประจำ
- ใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร
- ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและธนาคารผู้จ่ายได้รับรองตลอดไปแล้ว
- ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
- เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง
- หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีที่ผิดสัญญาประกัน
ในกรณีที่ผู้ยื่นขอประกันมีครอบครัวแล้วจะต้องทำหนังสือแสดงการอนุญาตจากสามีหรือภรรยาแล้วแต่กรณีไปด้วย
3. การพิจารณาการให้ประกันตัวผู้ต้องหา
1) การพิจารณาการให้ประกันตัวผู้ต้องหาเป็นดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจที่จะให้
ประกันหรือไม่ให้ประกันก็ได้โดยจะพิจารณาถึง
- ความหนักเบาแห่งข้อหา
-
พยานหลักฐานที่สอบสวน ไปแล้วมีเพียงใด
-
พฤติการณ์ต่างๆ แห่งคดีเป็น อย่างใด
- เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
- ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราวมีเพียงใดหรือไม่
ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่
2)
หากเจ้าพนักงานตำรวจพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัวไปได้ก็จะนำสัญญาประกันลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานและยึดหลักทรัพย์หรือเงินเท่าที่ท่านยื่นประกันไว้โดยออกใบสำคัญแสดงการรับไว้ให้ด้วยแล้วผู้ต้องหาจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวไป
3)
หากเจ้าพนักงานตำรวจไม่อนุญาตให้ประกันอันสืบเนื่องจากเหตุในข้อ
(1) ก็จะแจ้งให้นายประกันทราบและคืนหลักทรัพย์หรือเงินที่ท่านยื่นประกันไว้
4. การใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวน
ตามคำสั่ง ตร. ที่ 80/2551 เรื่อง
การกำหนดวงเงินประกัน
การกำหนดหลักทรัพย์ที่อาจใช้เป็นหลักประกันและการใช้บุคคลเป็นประกัน
ในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน ได้กำหนดการใช้บุคคลเป็นประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราว
ดังนี้
1. ผู้ขอประกันเป็นบุคคลธรรมดา
1) ผู้ขอประกันต้องเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน
และ
2) เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหา
หรือ
3) เป็นบุคคลที่เห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเสมือนเป็นญาติพี่น้องหรือมีความ
สัมพันธ์ในทางอื่นที่เห็นสมควรให้ประกันได้
วงเงินสัญญาประกัน ให้พิจารณาจากเงินเดือนหรือรายได้
โดยให้ทำสัญญาไม่เกิน 10
เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
2. ผู้ขอประกันเป็นนิติบุคคล
กรณีผู้ต้องหาเป็นกรรมการผู้แทน ตัวแทน
หุ้นส่วนพนักงาน ลูกจ้างของนิติบุคคล
วงเงินสัญญาประกัน ให้พิจารณาตามที่เห็นสมควรเป็น
กรณีๆ ไป
3. ผู้ขอประกันเป็นส่วนราชการ
วงเงินสัญญาประกัน ให้พิจารณาตามที่เห็นสมควรเป็นกรณีๆ
ไป
4. ผู้ต้องหาทำสัญญาประกันตนเอง
1) ผู้ต้องหาต้องเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน
วงเงินสัญญาประกัน
ให้พิจารณาจากเงินเดือนหรือรายได้ โดยให้ทำสัญญาไม่เกิน 10เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ย
2)
ผู้ต้องหาเป็นพนักงานหรือผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร
สถาปนิก ทนายความ ผู้สอบบัญชีครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้าน สื่อมวลชน
หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
ที่เห็นสมควรให้ประกันได้และการกระทำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นความผิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติงาน
ในการประกอบวิชาชีพนั้น
วงเงินสัญญาประกัน ให้พิจารณาจากเงินเดือนหรือรายได้
โดยให้ทำสัญญาไม่เกิน 15
เท่าของอัตราเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
5. การใช้บุคคลเป็นประกัน หรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 110
และมาตรา 114
วรรคสอง
วางหลักเกณฑ์เป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้
1) บุคคล / ผู้ขอประกัน
เป็นข้าราชการพลเรือนระดับ 3
ถึง 5 หรือ
ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า /
ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่ร้อยตรีเรือตรีเรืออากาศตรีหรือร้อยตำรวจตรีถึงพันตรีนาวาตรี
นาวาอากาศตรีหรือพันตำรวจตรี / ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ 6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
/ พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกับข้าราชการประจำ / สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
-/สมาชิกสภาจังหวัด / สมาชิกสภาเทศบาล / สมาชิกสภาเมืองพัทยา /
สมาชิกสภาเขตกรุงเทพมหานคร / กรรมการสุขาภิบาล / กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน
วงเงินสัญญาประกัน ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงิน
ไม่เกิน 60,000
บาท
2) บุคคล / ผู้ขอประกัน
เป็นข้าราชการพลเรือนระดับ 6
ถึง
8 หรือ
ข้าราชการอื่นเทียบเท่า / ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่ พันโท นาวาโท
นาวาอากาศโท หรือ พันตำรวจโท พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือ พันตำรวจเอก /
ข้าราชการตุลาการ หรือ ข้าราชการ อัยการตั้งแต่ชั้น 1 ถึง 2 / พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกับข้าราชการประจำ
วงเงินสัญญาประกัน
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงิน ไม่เกิน 200,000 บาท
3) บุคคล / ผู้ขอประกันเป็นข้าราชการพลเรือนระดับ
9
ถึง 10
หรือข้าราชการอื่นเทียบเท่า /ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก
นาวาอากาศเอก หรือพันตำรวจเอกที่ได้รับอัตราเงินเดือน พันเอก (พิเศษ) นาวาเอก
(พิเศษ) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) หรือ พันตำรวจเอก (พิเศษ) ถึง พลเรือตรี พลอากาศตรีหรือ
พลตำรวจตรี / ข้าราชการตุลาการ หรือ ข้าราชการ อัยการตั้งแต่ชั้น 3 ถึง 4 / พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกับ
ข้าราชการประจำ
วงเงินสัญญาประกัน
ทำสัญญาประกันผู้อื่น หรือตนเองได้ในวงเงิน ไม่เกิน 500,000 บาท
4) บุคคล / ผู้ขอประกันเป็นข้าราชการพลเรือนระดับ
11
หรือ ข้าราชการอื่นที่เทียบเท่า - ข้าราชการทหารหรือตำรวจที่มียศ ตั้งแต่พลโท
พลเรือโท พลอากาศโท หรือ พลตำรวจโท /ข้าราชการตุลาการ หรือ ข้าราชการ
อัยการตั้งแต่ชั้น 5
ขึ้นไป / พนักงานรัฐวิสาหกิจในระดับเดียวกับข้าราชการประจำ /สมาชิกรัฐสภา
ข้าราชการการเมือง หรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วงเงินสัญญาประกัน
ทำสัญญาประกันผู้อื่นหรือตนเองได้ในวงเงิน ไม่เกิน1,000,000 บาท