มาตรา ๓๒ ละเมิดอำนาจศาลกรณีโฆษณา
ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ
หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน
ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่
ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้
(๑) ไม่ว่าเวลาใดๆ
ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่ามานั้น ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ
ซึ่งข้อความ หรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดี
หรือกระบวนพิจารณาใด ๆ แห่งคดี
ซึ่งเพื่อความเหมาะสมหรือเพื่อคุ้มครองสาธารณประโยชน์
ศาลได้มีคำสั่งห้ามการออกโฆษณาสิ่งเหล่านั้น
ไม่ว่าโดยวิธีเพียงแต่สั่งให้พิจารณาโดยไม่เปิดเผย หรือโดยวิธีห้ามการออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง
(๒) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์
ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุดซึ่งข้อความ
หรือความเห็นโดยประสงค์จะให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาล
หรือเหนือคู่ความ หรือเหนือพยานแห่งคดี
ซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น
ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี
หรือ
ข. เป็นรายงาน หรือย่อเรื่อง
หรือวิภาคซึ่งกระบวนพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ
ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม
ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน
หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน
แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ
ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้
ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการพิมพ์ พุทธศักราช ๒๔๗๖
มาใช้บังคับ
ข้อสังเกต หลักกฎหมายและแนวคำพิพากษาศาลฎีกา