กู้ยืมเงินทางไลน์หรือเฟสบุ๊ก ไม่มีสัญญากู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ฟ้องร้องได้หรือไม่ การส่งข้อความแชททางไลน์ เฟสบุ๊ก
อีเมลล์ เป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ.2544 ซึ่งตามมาตรา 7 บัญญัติว่า
ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
และมาตรา 8 บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9
ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ
หรือมีเอกสารมาแสดง
ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว ดังนั้น หากมีข้อความที่กู้ยืมเงิน ผู้กู้ กับ
ผู้ให้กู้ ส่งถึงกันทางไลน์ เฟสบุ๊ก อีเมลล์ ฯลฯ ซึ่งมีข้อความว่า
มีการกู้ยืมเงินกัน จะถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ถือว่าข้อความดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ
มีหลักฐานเป็นหนังสือ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 653 ซึ่ง บัญญัติว่า
การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น
ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อ
ผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ดังนั้น เจ้าหนี้ จึงสามารถฟ้องร้องลูกหนี้เรียกเงินกู้คืนได้ โดยใช้ข้อความทางไลน์ เฟสบุ๊กดังกล่าว แทนการลายมือชื่อผู้ยืมในหนังสือ แต่ควรมี แชทข้อความสนทนาว่ากู้ยืมเงินจำนวนเท่าใด กำหนดคืนเมื่อใด ชื่อผู้กู้ยืมหรือ บัญชีผู้ใช้ account ของผู้กู้ หลักฐานการโอนเงินแก่กัน (อ่านต่อ) |
พนักงานสอบสวน มีหมายเรียกให้มาพบ (ไม่ใช่การถูกจับ ไม่เข้ามาตรา 7 วรรคแรก)
เมื่อเข้ามาพบแต่ไม่เจอพนักงานสอบสวน มีนายตำรวจชั้นประทวนแจ้งข้อหาแทน ( 48 ชั่วโมงนับแต่แจ้งข้อหาจึงยัง"ไม่เริ่มนับ"เพราะตัวบทของ ป.วิ.อ. มาตรา 134 กรณีเรื่องการแจ้งข้อหานั้นให้ "พนักงานสอบสวน"เป็นผู้แจ้ง) ข้อสอบหลอกโดยการใช้จุดตัดระหว่างชั้นยศ เพราะ พนักงานสอบสวนต้องเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตั้งแต่ ร.ต.ต. ขึ้นไป ดังนั้น ชัดเจนว่าผู้แจ้งข้อหาในคราวแรก "ไม่ใช่" และ "ไม่อาจเป็น"พนักงานสอบสวนได้ และไม่มีประเด็นเรื่องการมอบหมายให้ทำแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 128เพราะไม่ปรากฎข้อเท็จจริงในข้อสอบว่ามีการมอบหมายการมาตามหมายเรียกก็มิใช่ว่า จะถูกแจ้งข้อหาในวันเวลาดังกล่าว เช่นเดียวกัน การถูกแจ้งข้อหาอาจเป็นการเข้าพบ โดยไม่ต้องมีหมายเรียก ดังนั้น 48 ชั่วโมงจึงนับแต่การมาพบพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีในคราวหลัง อัยการมีอำนาจฟ้อง(ข้อสอบอัยการ สนามใหญ่ 2563 ข้อ วิ.แขวง) |