หลักนิติภาษิต บันทึกโดย หลวงสกล สัตยาทร / สวัสดิการของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด......ผู้ใดมาขอความยุติธรรม ผู้นั้นต้องมาด้วยมือสะอาด..... ผู้ใดละเมิดกฎหมาย จะแสวงหาความช่วยเหลือจากบทกฎหมายย่อมไม่บังเกิดผล.....จากมูลเหตุอันไร้ศีลธรรม ย่อมไม่เกิดสิทธิแห่งการเรียกร้อง..... อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนั้นไร้ผล....กฎหมายไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพ้นวิสัย.....บทกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ระวัง แต่ไม่ช่วยเหลือผู้ที่นอนหลับ.....ทุกสิ่งต้องสันนิษฐานว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ความตรงข้าม..... กฎหมายไม่ต้องการให้พิสูจน์สิ่งซึ่งชัดแจ้งต่อศาลแล้ว.....ถ้อยคำที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องการคำอธิบาย.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย..... เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.....ในเมื่อถ้อยคำนั้นตีความหมายไม่ได้เป็นสองนัยแล้ว ก็ไม่ควรให้มีการแปลความหมายที่ตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่แท้จริงนั้น ..... ท่านต้องไม่ทำให้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายแตกต่างหรือผันแปรไป....หลักการตีความหมายควรถือหลักเสรี และควรให้ถ้อยคำเป็นไปตามความตั้งใจ.....จะต้องเข้าใจถ้อยคำไปในทางที่จะให้วัตถุประสงค์นั้นเป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่เสียผล.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย....ในการตีความหมายในสัญญาควรต้องเพ่งเล็งเจตนาของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้อยู่....กฎหมายไม่บังคับให้ผู้ใดปรักปรำตนเองหรือให้หลักฐานเป็นปรปักษ์แก่ตน....ในทางอาชญากรรมย่อมมุ่งถึงเจตนา ไม่ใช่ผลของการกระทำ...ไม่มีผู้ใดต้องถูกลงโทษเนื่องจากความคิด....เพียงแต่การกระทำเท่านั้นยังไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิดเว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาที่ผิด....ผู้สำคัญผิดไม่ได้ถือว่าให้ความยินยอม.....ถือเอาตามน้ำหนักของพยาน ไม่ใช่จำนวนพยาน.....คำรับสารภาพที่รับต่อศาลย่อมมีน้ำหนักว่าการพิสูจน์อย่างอื่น.....เมื่อความเห็นเท่ากันจำเลยย่อมถูกยกฟ้อง ....ดุลยพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม.....คำพิพากษาของตุลาการที่ตัดสินเกินอำนาจย่อมไม่มีผล....การจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดที่สุดทีทำให้เกิดความอยุติธรรมมากที่สุดได้

ระบบยื่นฟ้องและส่งคำคู่ความ (e-Filing)



ระบบยื่นฟ้องและส่งคำคู่ความ (e-Filing)
สำนักงานศาลยุติธรรมร่วมกับกรุงไทยพัฒนายกระดับระบบศาลดิจิทัลสู่ e-Filing Version 3

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม  นายผยง ศรีวณิช  กรรมการผู้จัดการใหญ่  ธนาคารกรุงไทย ร่วมแถลงข่าวการยกระดับระบบศาลดิจิทัล สู่ระบบการยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์  (e-Filing)  Version 3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาพิพากษาคดี และความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยทนายความทั่วประเทศ สามารถยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ ไม่ต้องเดินทางไปยื่นฟ้องที่ศาล  ขณะที่จำเลยสามารถยื่นคำให้การผ่านระบบได้เช่นเดียวกัน ด้านผู้พิพากษาสามารถรับฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ หากคดีไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องทำสำนวนกระดาษ ศาลไม่ต้องหาพื้นที่จัดเก็บสำนวนที่มีเพิ่มมากขึ้น และคู่ความยังสามารถติดตามคดีได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์พันธกิจที่จะพัฒนาและสร้างระบบสนับสนุนอำนวยความยุติธรรมให้มีความรวดเร็ว สะดวก ทันสมัย และเป็นสากล

นายสราวุธ เบญจกุล เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารกรุงไทยและสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ลงนามความร่วมมือในการพัฒนาระบบศาลดิจิทัล เพื่อส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาพิพากษาคดี  การบริหารจัดการ และการให้บริการประชาชน เชื่อมฐานข้อมูลในกระบวนการยุติธรรม เพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการประชาชน โดยร่วมกันพัฒนาและขยายผลระบบการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing)  ให้ครอบคลุมศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ศาลซึ่งพิจารณาคดีแพ่ง 148 แห่งจาก 157 แห่งทั่วประเทศได้เข้าร่วมโครงการ มีผู้ใช้บริการกว่า 3,267 คดีแล้ว
 ที่ผ่านมา ธนาคารและสำนักงานศาลยุติธรรม ได้นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ในระบบงานต่างๆ  เพื่อยกระดับระบบศาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ  โดยร่วมพัฒนาระบบ e-Filing อย่างต่อเนื่อง และขณะนี้ได้เข้าสู่ Version 3   ด้วยการนำระบบการยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์มาใช้  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาคดีความมากยิ่งขึ้น    ช่วยอำนวยความสะดวกและแก้ไขปัญหาให้กับทนายความทั่วประเทศที่ขึ้นทะเบียนในระบบจำนวน 2,808 คน  ซึ่งแต่ละปีต้องยื่นฟ้อง1.2 ล้านคดี หากมาใช้ระบบ e-Filing จำนวนมากจะช่วยให้ศาลสามารถ ลดพื้นที่การจัดเก็บสำนวนกระดาษที่ศาลได้ขึ้นอีกมาก

นายผยง ศรีวณิช  กล่าวว่า e-Filing Version 3  นี้  ทนายความสามารถยื่นคำฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางเว็บไซต์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง  โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำฟ้อง ทางด้านจำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ ขอคัดถ่ายและดูเอกสารในสำนวนคดี รวมทั้งสามารถติดตามเอกสารได้ตลอดเวลา ส่วนเจ้าหน้าที่ศาลสามารถตรวจสอบเอกสารยื่นคำฟ้อง คำร้อง พร้อมให้ความเห็นและส่งงานให้ผู้พิพากษาได้ ซึ่งผู้พิพากษาสามารถประทับรับฟ้องได้
 ระบบ e-Filing Version 3 ปัจจุบัน สามารถรองรับการพิจารณาคดีในส่วนของคดีแพ่ง โดยทางสำนักงานศาลยุติธรรมมีแผนขยายไปยังการพิจารณาคดีอาญา และขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทางธนาคารพร้อมจะสนับสนุนสำนักงานศาลยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง

นายผยง ศรีวณิช ได้กล่าวในตอนท้ายว่า ธนาคารเป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินกับผู้ใช้บริการ e-Filing ค่าธรรมเนียมต่างๆของสำนักงานศาลยุติธรรมอย่างครบวงจร   ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต เคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม เว็บไซต์  ตลอดจนแอปพลิเคชั่นกรุงไทย NEXT  การร่วมมือกับสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อพัฒนาระบบศาลดิจิทัล  ถือเป็นหนึ่งภารกิจที่ธนาคารให้ความสำคัญ โดยเป็น 1 ใน 5 Ecosystems ของธนาคาร

  • ที่มาของคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์  (e-Filing)  Version 3 เพื่อตอบโจทย์พันธกิจที่จะพัฒนาและสร้างระบบสนับสนุนอำนวยความยุติธรรมให้มีความรวดเร็ว สะดวก ทันสมัย และเป็นสากล
    • เพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาพิพากษาคดี และความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
    • ทนายความทั่วประเทศ สามารถยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ ไม่ต้องเดินทางไปยื่นฟ้องที่ศาล  
    • จำเลยสามารถยื่นคำให้การผ่านระบบได้เช่นเดียวกัน
    • ผู้พิพากษาสามารถรับฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ หากคดีไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องทำสำนวนกระดาษ
    • ศาลไม่ต้องหาพื้นที่จัดเก็บสำนวนที่มีเพิ่มมากขึ้น
    • คู่ความยังสามารถติดตามคดีได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • สถานการณ์ของการยื่นฟ้องในปัจจุบัน
    • ธนาคารกรุงไทยและสำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกันพัฒนาและขยายผลระบบการยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสารโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) 
    • ครอบคลุมศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ศาลซึ่งพิจารณาคดีแพ่ง 148 แห่งจาก 157 แห่งทั่วประเทศได้เข้าร่วมโครงการ
    • มีผู้ใช้บริการกว่า 3,200 (3,267) คดีแล้ว
    • ทนายความทั่วประเทศที่ขึ้นทะเบียนในระบบประมาณจำนวนประมาณ 2,800 (2,808) คน 
    • มีการปีต้องยื่นฟ้อง1.2 ล้านคดี หากมาใช้ระบบ e-Filing จำนวนมากจะช่วยให้ศาลสามารถ ลดพื้นที่การจัดเก็บสำนวนกระดาษที่ศาลได้ขึ้นอีกมาก
  • ประโยชน์ของ e-Filing
    • ทนายความสามารถยื่นคำฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านทางเว็บไซต์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง  โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำฟ้อง
    • ด้านจำเลยสามารถยื่นคำให้การได้ ขอคัดถ่ายและดูเอกสารในสำนวนคดี รวมทั้งสามารถติดตามเอกสารได้ตลอดเวลา
    • ส่วนเจ้าหน้าที่ศาลสามารถตรวจสอบเอกสารยื่นคำฟ้อง คำร้อง พร้อมให้ความเห็นและส่งงานให้ผู้พิพากษาได้ ซึ่งผู้พิพากษาสามารถประทับรับฟ้องได้
  • แผนในอนาคต
    • ระบบ e-Filing Version 3 ปัจจุบัน สามารถรองรับการพิจารณาคดีในส่วนของคดีแพ่ง โดยทางสำนักงานศาลยุติธรรมมีแผนขยายไปยังการพิจารณาคดีอาญา
    • ขยายการให้บริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทางธนาคารพร้อมจะสนับสนุนสำนักงานศาลยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง
  • การเกี่ยวเนื่องกับระบบอื่นๆ
    • ธนาคารเป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินกับผู้ใช้บริการ e-Filing ค่าธรรมเนียมต่างๆของสำนักงานศาลยุติธรรมอย่างครบวงจร   ด้วยการชำระผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต เคาน์เตอร์ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม เว็บไซต์  ตลอดจนแอปพลิเคชั่นกรุงไทย NEXT 
    • การร่วมมือกับสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อพัฒนาระบบศาลดิจิทัล  ถือเป็นหนึ่งภารกิจที่ธนาคารให้ความสำคัญ โดยเป็น 1 ใน 5 Ecosystems ของธนาคาร
ข้อมูลจาก Facebook เพจสื่อศาล