หลักนิติภาษิต บันทึกโดย หลวงสกล สัตยาทร / สวัสดิการของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด......ผู้ใดมาขอความยุติธรรม ผู้นั้นต้องมาด้วยมือสะอาด..... ผู้ใดละเมิดกฎหมาย จะแสวงหาความช่วยเหลือจากบทกฎหมายย่อมไม่บังเกิดผล.....จากมูลเหตุอันไร้ศีลธรรม ย่อมไม่เกิดสิทธิแห่งการเรียกร้อง..... อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการนั้นไร้ผล....กฎหมายไม่บังคับในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือพ้นวิสัย.....บทกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ระวัง แต่ไม่ช่วยเหลือผู้ที่นอนหลับ.....ทุกสิ่งต้องสันนิษฐานว่าถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ความตรงข้าม..... กฎหมายไม่ต้องการให้พิสูจน์สิ่งซึ่งชัดแจ้งต่อศาลแล้ว.....ถ้อยคำที่ชัดเจนอยู่แล้วไม่ต้องการคำอธิบาย.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย..... เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.....ในเมื่อถ้อยคำนั้นตีความหมายไม่ได้เป็นสองนัยแล้ว ก็ไม่ควรให้มีการแปลความหมายที่ตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่แท้จริงนั้น ..... ท่านต้องไม่ทำให้ถ้อยคำในตัวบทกฎหมายแตกต่างหรือผันแปรไป....หลักการตีความหมายควรถือหลักเสรี และควรให้ถ้อยคำเป็นไปตามความตั้งใจ.....จะต้องเข้าใจถ้อยคำไปในทางที่จะให้วัตถุประสงค์นั้นเป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่เสียผล.....การตีความในกฎหมายย่อมจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย....ในการตีความหมายในสัญญาควรต้องเพ่งเล็งเจตนาของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำที่ใช้อยู่....กฎหมายไม่บังคับให้ผู้ใดปรักปรำตนเองหรือให้หลักฐานเป็นปรปักษ์แก่ตน....ในทางอาชญากรรมย่อมมุ่งถึงเจตนา ไม่ใช่ผลของการกระทำ...ไม่มีผู้ใดต้องถูกลงโทษเนื่องจากความคิด....เพียงแต่การกระทำเท่านั้นยังไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิดเว้นแต่จะได้กระทำโดยเจตนาที่ผิด....ผู้สำคัญผิดไม่ได้ถือว่าให้ความยินยอม.....ถือเอาตามน้ำหนักของพยาน ไม่ใช่จำนวนพยาน.....คำรับสารภาพที่รับต่อศาลย่อมมีน้ำหนักว่าการพิสูจน์อย่างอื่น.....เมื่อความเห็นเท่ากันจำเลยย่อมถูกยกฟ้อง ....ดุลยพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม.....คำพิพากษาของตุลาการที่ตัดสินเกินอำนาจย่อมไม่มีผล....การจัดการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดที่สุดทีทำให้เกิดความอยุติธรรมมากที่สุดได้

ศาลแขวงกระบี่

 


ปัจจุบันศาลจังหวัดกระบี่และศาลจังหวัดตรังมีปริมาณคดีความเข้าสู่การพิจารณาพิพากษาเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากทั้งสองศาลต้องรับภาระพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงด้วย การพิจารณาคดีอาจต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการคดีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวได้โดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัด เสมอภาค และเป็นธรรม จึงมีพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน เขตอำนาจ และวันเปิดทำการของศาลแขวงในจังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2563 และพระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวน เขตอำนาจ และวันเปิดทำการของศาลแขวงในจังหวัดตรัง พ.ศ. 2563 กำหนดให้ในจังหวัดกระบี่และจังหวัดตรัง

มีศาลแขวงหนึ่งศาล คือ ศาลแขวงกระบี่ และศาลแขวงตรัง โดยให้มีเขตอำนาจในทุกอำเภอของจังหวัดนั้น และให้ทั้งสองศาลเริ่มเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ศาลแขวงกระบี่

และศาลแขวงตรังมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท  และคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งจะเกินจากที่กำหนดไม่ได้

ประชาชนและผู้มีอรรถคดีสามารถติดต่อราชการศาลแขวงกระบี่ ได้ที่ เลขที่ 150 หมู่ 11 ถนนเพชรเกษม ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เว็บไซต์ : https://krbmc.coj.go.th

ศาลแขวงตรัง เลขที่ 139/4 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เบอร์โทรศัพท์ : 0 – 7521 - 8052 เว็บไซต์ : https://trnmc.coj.go.th 

ซึ่งขณะนี้ศาลดังกล่าวได้มีความพร้อม 100 % แล้ว ทั้งในด้านสถานที่และบุคลากรในการให้บริการประชาชน